banner-stay-safe-malware
banner-stay-safe-malware
 

เคล็ดลับฉบับย่อ ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากมัลแวร์

ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับมัลแวร์ (Malware) มาบ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าคำที่คุ้นหูนี้ อาจเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด!

ในยุคที่ทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีสุดทันสมัย และใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ภัยจากมัลแวร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา  มัลแวร์ที่ว่านี้คือ ซอฟต์แวร์หรือโค้ดที่มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์ร้ายและเป็นอันตรายในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของทุกคน

รู้ทันมัลแวร์ ภัยที่แฝงมากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

แม้ว่ากลไกของมัลแวร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการหลอกลวงในลักษณะนี้มานานแล้ว แต่ในปัจจุบันมิจฉาชีพปรับเปลี่ยนกลโกงให้แนบเนียนมากยิ่งขึ้น

ตัววอย่างของภัยมัลแวร์ที่เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ในเวลานี้คือ มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์จะส่ง SMS มาหลอกลวงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ด้วยข้อความดูน่าเชื่อถือ เช่น ข้อความแจ้งเตือนจากธนาคาร เพื่อชักจูงให้กดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม

หากผู้ใช้เผลอกดลิงค์ที่ได้มาก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมไว้กับเครื่องโทรศัพท์ จากนั้นก็มีข้อความหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ข้อมูลเหล่านี้มิจฉาชีพจะใช้แฮ็กเข้าระบบเพื่อขอสิทธิ์ในการเข้าถึงอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มัลแวร์เข้ามาแฝงในอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว

จากนั้นแฮ็กเกอร์ก็เข้าจัดการการสมัครบริการต่างๆ ที่คิดค่าบริการเหมือนกับเจ้าของเครื่องทำรายการเอง โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัวเลย เช่น การสมัครรับ SMS เป็นต้น ส่วนข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของอุปกรณ์จะถูกส่งกลับไปหาแฮ็กเกอร์เช่นกัน โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ข้อมูลหรือโค้ดที่ได้มาล้วงข้อมูล ควบคุม และติดตามการใช้งาน รวมไปถึงสามารถทำลายข้อมูล พร้อมนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในทางไม่ดีโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว ทั้งยังส่งข้อความกลับไปหลอกลวงต่อเรื่อยๆ อีกด้วย

รู้ทันมัลแวร์ ภัยที่แฝงมากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

เมื่อรู้เท่าทันช่องทางของภัยมัลแวร์แล้ว ทุกคนสามารถจัดการและป้องกันตัวเองจากมัลแวร์ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่ทำได้ทันที ดังนี้

  • ควรอัปเกรดระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
  • ปิดบลูทูธ และ NFC (Near-field communication เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายด้วยคลื่นความถี่ในระยะใกล้) ทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ไม่ควรเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือ Hotspot ตามที่สาธารณะหรือไม่ทราบแหล่งที่มา
  • หลีกเลี่ยงการทำเจลเบรคหรือรูทเครื่อง
  • ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส เพื่อป้องกันมัลแวร์ โดยพิจารณาแอปพลิเคชันที่มีความน่าเชื่อถือและเรตติ้งสูงเท่านั้น ผู้ใช้ระบบ Android ดาวน์โหลดจาก Google Play Store และผู้ใช้ระบบ iOS ดาวน์โหลดจาก App Store

แต่ละวิธีสามารถช่วยปกป้องอุปกรณ์ของเราจากภัยมัลแวร์ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการติดตามอัปเดตข่าวสาร และระวังตัวก่อนทำกิจกรรมหรือธุรกรรมทางออนไลน์ให้มากขึ้น

ทรูใส่ใจทุกปัญหา มุ่งมั่นดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยจากทุกภัยไซเบอร์

ทรูตามติดสถานการณ์ภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เราโดยมีหน่วยงานที่ดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่พร้อมดูแลลูกค้า และไม่เคยหยุดพัฒนาระบบ และพร้อมอัปเกรดให้ทันสมัย เท่าทันต่อเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพ ตลอดจนภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วยความห่วงใยใส่ใจความปลอดภัยของลูกค้าเป็นสำคัญ

สำหรับลูกค้าทรูมูฟ เอช ที่พบปัญหา SMS กินเงิน SMS กวนใจ หรือ SMS ขยะ สามารถยกเลิกข้อความประชาสัมพันธ์ผ่าน SMS ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ผ่าน 2 ช่องทาง คือ

  • กด *137 แล้วกดโทรออก กด 1 ตรวจสอบ SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ กด 2 ยกเลิก SMS ข้อความประชาสัมพันธ์ หรือ กด 3 ยกเลิก SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ โดยลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
  • จัดการผ่านแอปพลิเคชัน True iService ได้ทันที

ลูกค้าสามารถทำตามวิธีการง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยดูจากคลิปวิดีโอนี้

หากพบปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการคอนเทนต์ดาวน์โหลด ซึ่งอาจเกิดจากภัยไซเบอร์ที่แฝงมากับสื่อออนไลน์ SMS หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือมัลแวร์ที่แฝงเข้ามาในเครื่องโทรศัพท์ สามารถสอบถาม ขอคำแนะนำ และยกเลิกบริการคอนเทนต์ดาวน์โหลด ได้ที่ ศูนย์เฉพาะรับเรื่องแก้ปัญหาบริการคอนเทนต์ดาวน์โหลด โทร. 02-700-8085 ทุกวัน เวลา 9.00 - 18.00 น. ลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ