- dtac app แอปพลิเคชันศูนย์กลางของทุกการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและดีแทค ที่มาพร้อมกลยุทธ์การสร้างรายได้จากการทำตลาดเฉพาะตัว
- True iService แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นด้วยความใส่ใจทุกขั้นตอน เพื่อให้ลูกค้าสามารถให้บริการตนเองได้แบบอัตโนมัติ
บทวิจัยของ Harvard Business School ระบุว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ คือ “ความหลากหลาย” ความหลากหลายนี้ ไม่ได้หมายความเพียงความหลากหลายที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Inherent diversity) แต่ยังหมายรวมถึงความแตกต่างที่เกิดจากขึ้นจากภูมิหลังและประสบการณ์ (Acquired diversity)
True Blog ขอพาทุกท่านไปรู้เบื้องหลังเรื่องราวความสำเร็จของ 2 นวัตกรรมซูเปอร์แอป ได้แก่ dtac app และ True iService นั้น กว่าจะเป็นวันนี้ ต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงคุณค่าแห่งความแตกต่างหลากหลายในการทำงาน
dtac app กับภารกิจดีทั่วดีถึง
ทิพอาภา สุขสถิตย์ หัวเรือใหญ่ผู้พัฒนา dtac app ฉายภาพความสำเร็จของ dtac app ให้ฟังว่า dtac app ได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้เป็น “ศูนย์กลางของทุกการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและดีแทค” ซึ่งพัฒนามาถึงเวอร์ชันที่ 10 แล้ว จากจุดเริ่มของ dtac app นั้นส่งผลให้ปัจจุบันดีแทคมีลูกค้าที่ใช้งานดิจิทัลต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) ที่ 8.4 ล้านราย (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566) เติบโตจากสิ้นปี 2565 ที่ 7.7 ล้านราย โดยเป้าหมายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 10 ล้านราย ซึ่งถือว่ามีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ dtac app มีอัตราการเติบโตสูง คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของฐานลูกค้า ประกอบด้วย 3 ปัจจัย
- Capability ความสามารถของแอปที่มากขึ้น โดยเฉพาะ dtac Beyond ฟีเจอร์รวมสินค้าและบริการดิจิทัลที่หลากหลายมากขึ้นมากกว่าบริการโทรคมนาคม และเป็น One Stop Service เช่น Gaming Nation ที่ให้ลูกค้าสามารถเติมไอเท็มเกมภายในเเอป จากเดิมที่ต้องออกไปยังเว็บไซต์ อำนวยความสะดวกให้เหล่าเกมเมอร์มากขึ้น
- Exclusivity สิทธิพิเศษที่แตกต่างที่ dtac app มอบให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจะได้รับเงินพิเศษเป็น 150 บาท เมื่อเติมเงิน 130 บาท ผ่าน dtac app และสำหรับลูกค้าใหม่ที่ดาวน์โหลดแอปจะได้รับ 30 coins ทันที
- Offers บริการใหม่ที่ตรงใจมากขึ้น ซึ่งถือเป็น Killer feature ของปีที่ผ่านมา คือ dtac Facebook Autoflex บริการยืมเน็ตผ่าน Facebook ซึ่งเป็นบริการที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Telenor Digital, Meta และดีแทค ซึ่งในฟีเจอร์นี้ช่วยดึงดูดกลุ่ม “ลูกค้าใจดีให้ยืมเน็ต” ให้เข้ามาใช้งาน ทำให้ในปี 2565 มีผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้น 24%
ความหลากหลายเชิงประสบการณ์
ด้าน ภัทรวดี ลีกุลพิทักษ์ Head of Growth ของ dtac app อธิบายเบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของลูกค้าดีแทคว่ามาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญ คือ “ความแตกต่าง” ซึ่งไม่ใช่เพียง Inherent diversity หรือความหลากหลายที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น เพศ ชาติพันธุ์ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Acquired diversity ความแตกต่างที่เกิดจากขึ้นจาก “ประสบการณ์” ในบริบทของการพัฒนาแอปให้เป็นที่นิยม มีผู้ใช้งานหลักหลายล้านนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายแผนก อาศัยองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่การโค้ดดิ้ง ไอที แต่ยังต้องอาศัยความเป็น “มนุษย์” สื่อสารให้เข้าใจ ออกแบบการใช้งานให้ง่ายที่สุด
ทิพอาภา เล่าภาพทิ้งท้ายว่า สำหรับปีนี้ กลยุทธ์สำคัญยังคงเป็นเรื่องการของการเพิ่มความสามารถของแอปโดยเฉพาะในส่วนของ dtac Beyond ซึ่งเป็นบริการอื่นนอกเหนือจากบริการโทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังจะเน้นไปที่การสร้างรายได้ (monetization) ผ่าน dtac app ผ่านการทำการตลาดเฉพาะตัว (personalization) โดยร่วมมือกับทีม Customer Value Management นำพฤติกรรมการใช้งานกับพฤติกรรมการซื้อมาวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เพื่อให้ลูกค้าแบรนด์ดีแทคสามารถเข้าถึงบริการที่ดีที่สุด
กว่าจะเป็น True iService
อีกหนึ่งบริการที่ประสบความสำเร็จให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระเต็มที่ด้วยตัวเอง ก็คือ True iService ที่มีผู้ใช้งานทั้งสิ้นราว 5.2 ล้าน MAU ( Monthly Active Users) อัตราการเติบโตที่ 12% ต่อปี โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าสามารถให้บริการตนเองได้แบบอัตโนมัติ ครอบคลุมทั้งบริการก่อนและหลังการขายของผลิตภัณฑ์ทรู อาทิ การตรวจสอบยอดบิลและชำระค่าบริการ การเปิดใช้งานและลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ การซื้อแพกเกจเสริมสำหรับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบ้าน และการแก้ไขปัญหาการใช้งานเบื้องต้น
นพวรรณ โพธิ์งามวงศ์ หัวเรือใหญ่ของ True iService อธิบายว่า True iService เป็นแอปที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์บริการแบบครบวงจรทั้งก่อนและหลังการขายของผลิตภัณฑ์ทรู ได้แก่ TrueMove H, True Online และ TrueVisions โดยเมื่อกลางปี 2565 ที่ผ่านมา มีการปรับปรุงยกระดับการให้บริการภายในแอปครั้งใหญ่ เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ในการใช้งานบนแอปที่ดีและสะดวกยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน True iService มีจุดเด่นเรื่องของการตอบโจทย์บริการหลังการขายให้ลูกค้าสามารถจัดการบริการต่าง ๆ ได้เองตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีมงานได้เพิ่มขีดความสามารถแชทบอท AI “มะลิ” ให้ฉลาดยิ่งขึ้น สามารถแนะนำบริการและแก้ไขปัญหาลูกค้าเบื้องต้น ตลอดจนแก้เหตุขัดข้องทางเทคนิค รวมทั้งมีบริการ Network Excellence On-hand ที่ช่วยตรวจสอบสัญญาณและแก้ปัญหาได้ทันที บริการ Pay for Others สำหรับจัดการบิลหรือเติมเงินให้คนในครอบครัวหรือผู้อื่นได้ บริการ Digital eSIM ที่ลูกค้าสามารถเปิด eSIM เบอร์ใหม่ หรือเปลี่ยนซิม โอนย้ายในเครื่องได้เอง รวมถึงบริการ Caller ID Block สำหรับบล็อกเบอร์โทรที่ไม่ต้องการหรือไม่รู้จัก ซึ่งบริการที่ครบวงจรในแอป True iService นี้ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและลดจำนวนสายลูกค้าที่ติดต่อเข้าคอลเซ็นเตอร์ได้ถึง 15% ในปี 2565
“ความท้าทายของ True iService คือการพัฒนาแอปให้ครอบคลุมทุกบริการของทรู ทั้ง mobile และ non-mobile ดังนั้น การใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer centricity) จึงถือเป็นหลักคิดสำคัญของการพัฒนา True iService” นพวรรณกล่าวและเสริมว่า ที่ผ่านมาล้มลุกคลุกคลานนับไม่ถ้วน แต่ทั้งหมดคือการเรียนรู้ เพื่อให้บริการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ความหลากหลาย: เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยี
ด้าน รฐา ศรีวัฒรางกูร Senior Product Owner ผู้รับผิดชอบด้านออกแบบแอปพลิเคชัน เล่าเบื้องหลังการพัฒนาว่า กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ได้ ทีม True iService ที่ประกอบด้วยคนที่มีความหลากหลายด้านความรู้และประสบการณ์ต่างต้องทำงานกันอย่างหนัก ลงไปสอบถาม คลุกคลีกับลูกค้าหน้าร้านและพนักงาน True Shop ร่วม 3 เดือน เพื่อให้ทีมเข้าใจ journey การใช้งานและความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
“การทำงานกับผู้คนที่มีภูมิหลังที่หลากหลาย ทำให้วิธีคิดและมุมมองต่อปัญหาต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารและความเข้าใจคนทำงานด้วยกันจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ เพราะบางครั้ง แม้จะเป็นคำเดียวกัน แต่การตีความนั้นก็อาจคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างกันได้ จึงจำเป็นต้องรีเช็กความเข้าใจทุกครั้ง” นพวรรณกล่าวว่า เธอเป็นคนหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากวิศวกร ดังนั้นการมองปัญหาและวิธีแก้ไขจะมองแบบวิศวกร แต่การทำงานกับคนหลากหลายทำให้เข้าใจมุมมองของทีมงานที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน
ในภาพกว้าง เธอทั้ง 4 คนให้มุมมองในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจัยสำคัญของเทคโนโลยีคือ “ความเป็นมาตรฐาน” (standardization) ซึ่งจะเกิดขึ้นจากมุมมองและความร่วมมือกัน (collaboration) ที่แตกต่างหลากหลายของผู้พัฒนาและผู้ใช้งาน ซึ่งท้ายที่สุด เทคโนโลยีนี้เองที่เป็นเครื่องมือในการ “เชื่อม” ความแตกต่างของคนในสังคมให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
รายงานข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ผู้บริโภควิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Media Partners Asia (MPA) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดสื่อระบุว่า ในปี 2023 สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาฐานลูกค้า การจัดการรับมือกับลูกค้าที่จะเลิกใช้บริการ รวมถึงการปรับขึ้นราคาค่าบริการ เป็นสำคัญ
อย่างไรก็ดี MPA ได้เสนอรายงานวิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2023 โดยระบุว่า TrueID เป็นหนึ่งในสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตในประเทศไทย โดยจับกลุ่มผู้ชม Video On Demand แบบพรีเมียมในไตรมาสที่ 1 ได้ถึง 30% ซึ่งเป็นผลจากการคอนเทนต์การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ที่ถือเป็นจุดเด่นสำคัญของแพลตฟอร์ม
True Blog ขอพาทุกท่านไปพูดคุยกับทีมงาน TrueID ที่พร้อมมาเล่าถึงกลยุทธ์การทำงานและภารกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่งท่ามกลางความท้าทายในสมรภูมิ Streaming Platform ในประเทศไทย โดยมีคีย์สำคัญคือ การสร้างความแตกต่างและหลากหลายให้โดดเด่นในตลาด ทั้งในแง่ของคอนเทนต์ บริการ ที่ตั้งใจส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์เพื่อผู้ใช้งานในประเทศไทยโดยเฉพาะ
Local Player ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานไทยได้ตรงใจ
“ถ้าเทียบกันในตลาด TrueID ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ติดอันดับผู้นำในตลาด โดยมีจุดเด่นในด้านคอนเทนต์ที่มีมากกว่าวิดีโอสตรีมมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่ง ไลฟ์ทีวี VOD (Video On Demand) เพลง ไปจนถึงข่าวและบทความ และที่สำคัญคือ การคัดสรรคอนเทนต์ได้ตรงใจผู้ใช้งานชาวไทยมากที่สุด” ณฐาศิริ ธนภัทรเธียรเลิศ Strategic Synergy Lead ของ TrueID เริ่มต้นด้วยการอธิบาย Position ในตลาด
ปัจจุบันแอปพลิเคชัน TrueID มีผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) 36 ล้านราย (พฤษภาคม 2023) เติบโตจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในปี 2019 ที่มี MAU เพียง 10 ล้านราย โดยสัดส่วนผู้ใช้งานปัจจุบันแบ่งเป็นฐานลูกค้าทรู 75 เปอร์เซ็นต์ และผู้ใช้งานทั่วไป 25 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ จุดแข็งที่ TrueID ก้าวมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ในสมรภูมิสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มของประเทศไทย มาจากกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ดังต่อไปนี้
1. Partnership การการผนึกกำลังกับพันธมิตรอย่าง True Visions Now ที่เป็นผู้นำด้านคอนเทนต์กีฬาในตลาด ทำให้มีการถ่ายทอดรายการกีฬาระดับโลก อาทิ English Premier League, beIN Sports โดยคอนเทนต์กีฬาถือเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่ผู้ชมในประเทศนิยม วัดได้จากช่วงฟุตบอลโลก 2022 ที่มียอดผู้ชมจาก TrueID สูงสุดถึง 42 ล้านคน
2. Exclusive Content คอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งคอนเทนต์ลิขสิทธิ์และการผลิต Original Series โดยความร่วมมือกับ True CJ Creation (บริษัทร่วมทุนระหว่าง True Visions Group และ CJ ENM จากเกาหลีใต้) เช่น ซีรีส์เรื่อง 23:23 สัญญาสัญญาณ
3. Localization การพากย์ภาษาไทยในคอนเทนต์เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมไทยในระดับ Mass ให้เข้าถึงคอนเทนต์ต่างประเทศได้ง่าย และมีความเสมอภาค ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา
4.Personalization การคัดสรรคอนเทนต์ตรงความสนใจผู้ใช้งานเฉพาะบุคคล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI โดยมีการแบ่งกลุ่มไว้ถึง 10 Persona Segments นั่นคือ Fan Ball, Anime Mania, Reality Fan, True Smart, Live Streamer, Reward Seeker, Trend Rider, Series Addict, Premium Streamer และ Casual Streamer
Super App ที่เปิดกว้างให้ทุกคนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม
แอปพลิเคชัน TrueID พัฒนาขึ้นเพื่อเป็น Super App ที่เปิดกว้างให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากเป็นลูกค้าของทรูจะใช้งานได้ใน Ecosystem ที่ครบภายในแอปพลิเคชันเดียว ทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ การแลกรับสิทธิพิเศษจาก True You การชำระค่าบริการที่สะดวกด้วยการจ่ายผ่าน True Money Wallet การช้อปปิ้งที่เชื่อมโยงไปถึงพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ไปจนถึงการโทรและแชต (Call & Chat) ที่เป็นบริการที่ใช้ประโยชน์ของการเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี
ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยพยายามลดความยากในการใช้งาน พร้อมกับการปรับปรุงให้สอดรับกับสภาพสังคมของผู้ใช้งานในปัจจุบันที่หลากหลาย
“ตอนนี้เราเพิ่มเมนูภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาในหน้าการใช้งาน เพราะมีผู้ใช้งานเป็นพี่น้องชาวพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เราพยายามตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้ด้วย อีกส่วนหนึ่งคือการพยายามทำให้ฟีเจอร์หลายอย่างง่ายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานกลุ่มผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มที่มีมากขึ้นเช่นกัน” ณฐาศิริกล่าว
ก้าวไปสู่การเป็น Content Aggregator
“TrueID ต้องปรับตัวให้ไว” คือสไตล์การทำงานที่ณฐาศิริเน้นย้ำ พร้อมเผยถึงก้าวต่อไปของ TrueID ว่า “ในอนาคตอันใกล้คือมุ่งไปสู่การเป็น Content Aggregator ที่ผนึกกำลังกับพาร์ตเนอร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อคัดสรรและรวบรวมบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกัน สร้างความได้เปรียบในด้านสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากพันธมิตร รวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ที่สามารถเสนอแพ็คเกจในลักษณะ Bundle ที่คุ้มค่าและมีทางเลือกหลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้าหลายกลุ่ม รวมถึงเป็นการลดอัตราการเลิกเป็นลูกค้า (Churn Rate) ของกลุ่มลูกค้าเดิมอีกด้วย”
นอกจากนี้ยังมีการวางกลยุทธ์ในการโปรโมทคอนเทนต์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มผ่านรูปแบบของ Short Form Content ตามเทรนด์ความนิยมของผู้ใช้งานยุคนี้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นและนำเสนอสินค้าและบริการได้มากขึ้น และนำมาสู่การสร้างรายได้ให้กับแพลตฟอร์ม “เราสังเกตเห็นว่าช่วงที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ Short Form Content ได้รับความนิยมมาก เรากำลังจะทำคอนเทนต์สั้น ๆ แบบนี้ให้ผู้ใช้บริการได้เลื่อนดู เหมือนเป็นไฮไลต์ แล้วถ้าชอบก็สามารถกดดูคอนเทนต์ตัวเต็มได้ทันที” ณฐาศิริกล่าว
อีกหนึ่งความแตกต่างที่ TrueID มีมากกว่าคู่แข่งในตลาด คือการมีฟีเจอร์ Community ในลักษณะของ User-Generated Content (UGC) โดยผู้ใช้งานในชุมชนนี้จะมีการสร้างคอนเทนต์ที่สดใหม่ หลากหลายอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม ส่งเสริมการเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์และชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลยุทธ์การเป็น Content Aggregator ที่ผู้ใช้งานจะสามารถรีวิวหรือแนะนำคอนเทนต์และบริการในแพลตฟอร์มให้กันในชุมชนได้ รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจที่จะดึงดูดผู้ใช้งานใหม่เข้ามามากขึ้น
ความหลากหลายของทีมงาน: เบื้องหลังการสร้างสรรค์คอนเทนต์และนวัตกรรมที่ตรงใจ
เบื้องหลังการทำงานของทีม TrueID ที่ต้องตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความแตกต่างหลากหลาย มาจากการรวมตัวของทีมงานกว่า 200 ชีวิตที่มีทักษะความถนัดในการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งมาพร้อมความหลากหลายเฉพาะบุคคล ทั้งในด้านวัย เพศ พื้นเพ ความสนใจ ความหลากหลายนี้กลายเป็นสิ่งเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาบริการใหม่ๆ โดยทุกมุมมอง ประสบการณ์ และความคิดเห็นของทีมงาน คือตัวแทนเสียงของผู้ใช้งานในตลาดได้ทั้ง 10 Persona Segments ที่วางไว้ นอกเหนือจากนั้นยังสร้างความเข้าใจในการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายในองค์กรเช่นกัน
พสธร สุวรรณศรี Data Scientist จากส่วนงาน Digital Growth Insight ผู้รับผิดชอบงานด้านข้อมูลในระบบหลังบ้าน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เล่าว่าการทำงานกับทีมที่ภูมิหลังและประสบการณ์การใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมข้อมูลให้เหมาะกับสายงานต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
“เราต้องตีโจทย์ให้ได้ก่อนว่า เขาจะนำข้อมูลนั้นไปใช้งานอะไรต่อ เพื่อนำเสนอรูปแบบข้อมูลนั้นในแบบที่เขาจะเข้าใจได้ในครั้งเดียว บางทีมอาจจะใช้ข้อมูลที่เป็น Raw data ได้ แต่บางทีมควรใช้ชุดข้อมูลที่ย่อยง่ายและนำเสนอไปตามลำดับ” นอกจากนี้ พสธรเล่าว่า การได้ร่วมงานกับหลากหลายทีมที่มีหน้าที่ต่างกัน ทำให้เขาเข้าใจมุมมองของงานในหลากหลายมิติ และช่วยให้เขาเชื่อมต่อประสบการณ์และมองเห็นภาพใหญ่ขององค์กรได้อย่างชัดเจน
ด้าน จิราพัชร ใจเย็น Associate Product Owner และ รัฐมณฑน์ ฑีฆวาณิช Senior Product Owner ที่รับผิดชอบดูแลฟีเจอร์ Community ซึ่งเน้นการทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต่างเล่าว่า การทำงานกับคนที่มีความหลากหลายช่วยจุดประกายความคิดในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในงานได้เสมอ ยิ่งเมื่อองค์กรเปิดกว้างและส่งเสริมให้ทุกคนได้กล้าแสดงความเป็นตัวเองในทุกมิติ ที่ทำงานก็กลายเป็นพื้นที่สบายใจที่ทำงานก็กลายเป็นพื้นที่สบายใจ
“เราทำงานกันอย่างให้เกียรติกัน เชื่อมั่นว่าแต่ละคนมีความสามารถที่สุดในส่วนงานที่เขาทำอยู่ ทุกคนก็ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และเมื่อเปิดกว้างรับฟังกัน ก็นำมาต่อยอดสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด” จิราพัชรสรุปทิ้งท้าย
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานแถลงเปิดตัวกิจกรรมโรดโชว์ Better Together Festival พร้อมฉายภาพองค์กร 2 เดือนหลังควบรวม เปิดเกมรุกตลาดไตรมาส 2 สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ในโอกาสนี้ True Blog ได้เลือกเฟ้น 8 ภาพเบื้องหลังสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่บอกเล่าหลากหลายอารมณ์ความประทับใจ ภายใต้แนวคิด “ชีวิตดีกว่า เมื่อมีกันและกัน (Better Together)” โดยงานนั้นจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://dtacblog.co/nai-baifern-2/
เบื้องหลังความสำเร็จของงาน นอกจากความชำนาญ และความทุ่มเท ร่วมแรงร่วมใจของทีมที่มอบให้กับงานแล้ว ปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “ความสุข” โดยเฉพาะในองค์กรต่าง ๆ หากพนักงานทำงานด้วยความสุขทั้งกายและใจเป็นพื้นฐานแล้ว องค์กรนั้นย่อมมีบรรยากาศการทำงานที่ดี และก่อเกิดนวัตกรรม สร้างผลงานที่โดดเด่นเช่นกัน
องค์กรยุคใหม่ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีความสุข ทั้งทางกายและทางจิตใจไปพร้อมกัน สำหรับประเทศไทย ทรู เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นดูแลและให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเป็นอันดับแรก โดยส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขในทุกด้าน นอกเหนือจากการดูแลด้านความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ยังใส่ใจในการส่งเสริมความสุขใจทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิตไปพร้อมกัน ผ่านสวัสดิการและกิจกรรมที่หลากหลาย
หนึ่งในกิจกรรมที่ได้สาระความรู้ไปพร้อมกับการสนับสนุนความสุขของพนักงานยิ่งขึ้น คือ การพบปะพูดคุย และรับฟังเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ จากผู้เชี่ยวชาญและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังที่หลายคนชื่นชอบ ในหัวข้อที่หลากหลาย ซึ่งขอหยิบยกเคล็ดลับดี ๆ จาก 2 กิจกรรมเด่นในช่วงที่ผ่านมา ให้ทุกคนได้นำไปปรับใช้ด้วยกัน
ความสุขที่มาพร้อมกับการรู้จักตัวเอง
ในการทำงานและการใช้ชีวิต พนักงานอาจมีความเครียดได้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดได้กับทุกคน บางคนอาจจะเครียดโดยไม่รู้สึกตัวได้เช่นกัน ภาวะเช่นนี้เราหาทางป้องกันและแก้ไขได้ โดยแปรเปลี่ยนให้เป็นการรู้จักตัวเองและนำมาซึ่งความสุข
ดร. โฟม สุธาสินี เชาวน์เลิศเสรี นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตองค์กร ผู้ก่อตั้ง ALRISE ศูนย์บริการเชิงจิตวิทยาและพัฒนาบุคคลเชิงองค์รวม ได้มาแชร์เทคนิคน่ารู้ในการรู้จักตัวเองผ่านวิธีการทำ Self-reflection หรือการสะท้อนตัวเองจากการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวเอง เพื่อให้ชาวทรูได้นำไปใช้ในการสร้างความเข้าใจและพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มที่ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. สำรวจก่อนว่าเราพร้อมที่จะอยู่คนเดียวเพื่อทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ หรือไม่ หากไม่พร้อมให้ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่เสริมสร้างความสุขให้สบายใจ เช่น ร้องเพลง กิน เที่ยว ไปอยู่กับธรรมชาติ
2. เมื่อพร้อมแล้ว ให้หาช่วงเวลาที่จะนั่งนิ่ง ๆ เงียบ ๆ อยู่คนเดียวในห้อง ไม่มีใครรบกวน อย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง
3. เตรียมกระดาษ ปากกาให้พร้อม เพื่อเขียนตอบตัวเองในกระดาษว่า ตอนนี้เกิดอะไรขึ้นกับตัวเราบ้าง สถานการณ์ที่เราเจอเป็นอย่างไร ในจุดนี้หลายคนอาจจะมีคำถามว่า ถ้าคิดไม่ออกจะทำอย่างไร เราต้องให้เวลาตัวเองเพิ่ม นี่คือชีวิตของเรา มีเพียงเราคนเดียวเท่านั้นที่รู้
4. หลังจากเขียนปัญหาออกมาแล้ว ให้ถามตัวเองต่อไปว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุมาจากไหน โดยถามตัวเองด้วยคำถามเดิมนี้ ทั้งหมด 5 รอบ เพื่อให้เราค่อย ๆ เจาะลึกถึงลงไปเรื่อย ๆ จนเจอสาเหตุที่แท้จริง
5. กระบวนการทั้งหมดจะทำให้เราเห็นปัญหา รู้สาเหตุ และเข้าใจตัวเองยิ่งขึ้น หลายคนอาจมีเรื่องที่อยากทำความเข้าใจตัวเองหลายเรื่อง ให้เริ่มจากเรื่องเดียวก่อน เมื่อทำสำเร็จแล้วไปหนึ่งเรื่องแล้ว จึงย้อนกลับมาทำตามขั้นตอนแรกเพื่อจัดการเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
การทำ self-reflection นี้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจตัวเอง และจัดการเรื่องที่ติดค้างอยู่ เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องราวต่างๆ และตัวเองมากขึ้น และเกิดความสุขและสบายใจมากขึ้นนั่นเอง
ทำงานสนุกแบบพลังใจล้น เราทุกคนพร้อมเดินหน้าไปด้วยกัน
การมีคนเข้าใจ แบ่งปันพลังงานบวก ย่อมทำให้จิตใจมีความสุขและพร้อมทำงานได้อย่างเต็มที่ ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านความรักความสัมพันธ์ จากรายการ Club Friday ได้พูดคุยถึงแนวโน้มหรือกระแสที่สังคมคนทำงานและองค์กรพูดถึงกันมากโดยเฉพาะตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 นั่นคือ ภาวะการหมดไฟในการทำงาน พร้อมแชร์ข้อคิดและเคล็ดลับดี ๆ ให้ชาวทรูได้อบอุ่นใจ เพิ่มพลังการทำงานได้อย่างมีความสุขล้นเหลือ ด้วยวิธีที่ง่าย ๆ แต่ทำแล้วสบายใจมาก
1. ทุกคนท้อได้ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ เราอาจได้ยินคำว่า ‘ท้อแล้วให้รีบลุกขึ้นมา’ แต่จะดียิ่งกว่าถ้าเรายอมรับความจริงก่อนว่า เรากำลังเริ่มเหนื่อย เพราะการที่จิตใจและร่างกายเริ่มเข้าภาวะหมดไฟ นั่นหมายความว่า ร่างกายกำลังส่งสัญญาณว่า เราใช้ร่างกายหนักเกินไป
2. หากอยากมีพลังทำงานในทุก ๆ วัน ให้ถามตัวเองบ้างว่า เหนื่อยไหม ถ้าเหนื่อยต้องพัก ซึ่งวิธีการพักไม่ต้องมองถึงสิ่งไกลตัว แค่ได้กินของอร่อยที่อยากกิน เจอเพื่อนก็ได้ ที่สำคัญก็คือ อย่าทำแต่อะไรที่เป็นกิจวัตรประจำวัน จนกระทั่งลืมไปว่า ความต้องการจริง ๆ ของเราคืออะไร
3. คำชื่นชมจากหัวหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะเป็นกำลังใจเพื่อจะบอกว่าคน ๆ นั้นมีความสำคัญกับองค์กรแค่ไหน และสำคัญที่สุดคือ คำชมที่ให้กับตัวเอง ซึ่งการชมตัวเองไม่ใช่การโอ้อวด แต่เป็นการบอกให้รู้ว่าเราก็เป็นคนหนึ่งที่มีศักยภาพ เราจะได้รู้สึกมีพลังในตัวเองด้ว
นอกจากนี้ ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล ได้ทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับสวัสดิการในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพลังใจและดูแลสุขภาพใจของพนักงานว่า
“ถ้าเมื่อไรก็ตามที่จิตใจของเราเหนื่อยล้า เราจะไม่มีพลังไปทำงาน ตอนนี้สวัสดิการในบริษัทหลายที่ทั่วโลกเน้นการดูแลสุขภาพใจ ส่วนในประเทศไทย ทรูเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการดูแลเรื่องสุขภาพใจ เมื่อบริษัทดูแลดีทุกคนจะเอาหัวใจลงไปทำงาน และถ้าหากใครที่เอาหัวใจลงไปทำงาน ก็จะมีพลังบางอย่างที่ผลักดันให้เราเดินไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน”
ขับเคลื่อนองค์กรด้วยความสุขของพนักงาน
เพราะเชื่อว่า “คน” เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ทรูจึงมุ่งเน้นดูแลให้พนักงานทุกคนในองค์กรทำงานอย่างมีความสุข เป็น People Organization ที่นึกถึงพนักงานเป็นอันดับแรก โดยดูแลความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ทั้งกายและใจ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานด้วยความมั่นใจ สบายใจ และมีความสุข
ในด้านของการดูแลความสุขและพลังใจนั้น นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมพบปะและแชร์เคล็ดลับความรู้ที่ดูแลและผ่อนคลายจิตใจแล้ว
ทรูยังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกายอย่างมากเช่นกัน ตั้งแต่การใส่ใจในเรื่องเล็ก ๆ เช่น จัดห้อง Nap ให้สำหรับพนักงานที่ต้องการมาพักผ่อนสมองและร่างกาย เพื่อความผ่อนคลายในช่วงพักระหว่างวันเป็นเวลาสั้น ๆ พร้อมเติมกำลังในการทำงานอย่างสดชื่น หรือหากมีอาการเมื่อยล้าร่างกายก็มีบริการนวดเพื่อสุขภาพ หรือทำกายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่รักการออกกำลังกาย ให้ได้มาใช้ฟิตเนสในออฟฟิศ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่อื่นอีกด้วย เรียกได้ว่า ทรู จัดสวัสดิการที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ และดูแลความเป็นอยู่และความสุขทั้งกายใจของพนักงานได้อย่างดีเยี่ยม
นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการที่ดูแลเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ผ่านบริการที่สะดวกด้วยการปรึกษาทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee เพราะเรื่องการดูแลสุขภาพใจเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพกาย
การทำงานที่เริ่มต้นด้วยจิตใจ และร่างกายที่ดี ถือเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะขับเคลื่อนให้ผลงานออกมาสำเร็จตามเป้าหมาย ฉะนั้นหมั่นเติมพลังใจ ทำให้ตัวเรามีความสุขเข้าไว้ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัดไปด้วยกัน
การระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ หลายองค์กรเริ่มจากปรับเปลี่ยนให้พนักงานทำงานจากบ้าน (Work From Home) และยกระดับสู่การทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work From Anywhere) จนทุกวันนี้กลายเป็นการทำงานวิถีใหม่ที่หลาย ๆ องค์กรมีทางเลือกให้พนักงานทำงานในรูปแบบ Hybrid Work โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาทำงานในออฟฟิศทุกวัน
การที่พนักงานสามารถทำงานจากสถานที่ต่าง ๆ ได้ กลายเป็นความท้าทายของฝ่ายบุคคล หรือ HR ที่จะต้องคอยดูแลและอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถทำงานได้ราบรื่นที่สุด อีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงพนักงานให้ติดต่อประสานงานกันได้ง่าย และยังรู้สึกใกล้ชิดกับองค์กรเช่นเดิม ในสถานการณ์เช่นนี้ เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ HR สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับความคาดหวังของพนักงานทุกคนในองค์กร
Mobile Application เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการสื่อสารและการทำงานของพนักงานในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว เอื้อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้จากทุกที่และทุกเวลา ตอบโจทย์การทำงานแบบ Hybrid Work ได้เป็นอย่างดี ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวล้ำไปมาก Mobile Application ก็สามารถพัฒนาให้มีฟังก์ชันหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานขององค์กรได้มากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นเสมือนศูนย์กลางการทำงาน ที่ทั้งรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สร้างระบบมอบหมายงานและอนุมัติงาน รวมถึงเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างกันของพนักงานทุกคน
HR ยุคใหม่ในแบบทรู ดูแลพนักงาน สร้างความผูกพัน ผ่านแอปพลิเคชัน True Connect
ทรู ได้ทรานสฟอร์มสู่องค์กรดิจิทัล ก้าวสู่เทคคอมปานีเต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ โดยมีการวางแผนและเตรียมความพร้อม มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างรอบด้าน ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงาน และมีพนักงานเป็นเสมือนหัวใจที่ขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จ ทรูจึงเน้นการพัฒนาคน ควบคู่กับการให้ความสำคัญเรื่องการดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างสิ่งแวดล้อมที่สามารถเติมเต็มความรู้และทักษะแก่พนักงานจนเต็มศักยภาพ
หนึ่งในเทคโนโลยีที่ทรูได้นำมาดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิด คือ แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “True Connect” ซึ่งทำหน้าที่เป็น เหมือน Super App ที่รวมทุกบริการที่พนักงานทรูจำเป็นต้องใช้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยสามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ฟีเจอร์การใช้งานของ True Connect เรียกได้ว่า ครบ จบ ในแอปเดียว ที่สำคัญ คือ มั่นใจในความปลอดภัยสูงสุดของข้อมูล ตัวอย่างฟีเจอร์เด่นที่พนักงานนิยมใช้งาน ได้แก่ Chat ที่ช่วยให้สื่อสารกันได้สะดวกผ่านการพิมพ์ข้อความ โทร วิดีโอคอล ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม รวมถึงการส่งภาพ แชร์ไฟล์ ที่ดูย้อนหลังได้และไม่มีหมดอายุ People รวบรวมข้อมูลการติดต่อพนักงานทุกคนทั้งบริษัทไว้ในที่เดียว โดยสามารถค้นหาเพื่อนร่วมงานหรือติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้สะดวกมาก Portal รวบรวมระบบและเว็บไซต์อื่น ๆ ขององค์กรเอาไว้ เพื่อให้เข้าถึงสะดวก ไม่ต้องเข้าผ่านช่องทางอื่น Form แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ที่สะดวกต่อการอนุมัติงานต่าง ๆ จากระบบ พร้อมกับลดการใช้กระดาษ เป็นต้น
นอกจากนี้ พนักงานทุกคนยังเข้าถึงบริการ HR Services ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิ์วันลา การขอสลิปเงินเดือน ใบรับรองการทำงาน การเบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมและประกันสุขภาพ ไปจนถึงการรับสิทธิพิเศษ และโปรโมชั่นสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อพนักงานในกลุ่มทรู เรียกได้ว่า พนักงานทุกคนสามารถติดต่อบริษัทและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
รางวัล “HR Excellence Awards 2021” บทพิสูจน์องค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ทรูนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนงาน ควบคู่กับ การดูแลพนักงานอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกมิติ ด้วยความเชื่อว่า “คน” เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญขององค์กร สะท้อนความสำเร็จด้วยรางวัล “HR Excellence Awards 2021” ระดับ Gold สาขาความเป็นเลิศด้านการนำนวัตกรรมมาใช้ในเทคโนโลยีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Excellence in Innovative Use of HR Tech) ในฐานะองค์กรที่มีการนำนวัตกรรมเทคโนโยดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างประสบการณ์ที่ดีด้านดิจิทัลให้แก่พนักงาน อันเป็นการเสริมสร้างและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วขององค์กรและธุรกิจในรูปแบบของ Digital Transformation โดยทรูเป็นองค์กรสื่อสารโทรคมนาคมไทยเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัล “HR Excellence Awards 2021” สูงสุดถึง 9 สาขา ประกอบด้วย 2 รางวัลระดับ Gold และ 3 รางวัลระดับ Silver รวมทั้งได้รับการรับรองความเป็นเลิศในระดับประเทศอีก 4 สาขาจากสถาบัน Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์
สรุปข้อดีของการนำ Mobile Application มาใช้ในกลุ่มพนักงาน
- เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา พนักงานสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การทำงาน การติดต่อสื่อสารกับคนในองค์กรเป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่น รวมถึงการเข้าถึงสวัสดิการของตัวเองได้อย่างง่ายดาย
- ทำงานได้เร็ว ลดความซ้ำซ้อน การรวมระบบงานต่างๆไว้ในแอปพลิเคชัน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานรูปแบบเดิม รวมถึงเป็นการลดการใช้กระดาษได้อีกด้วย
- สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานได้ง่ายขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนสามารถรับข่าวสาร ข้อมูลสำคัญ พร้อมติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านแอปพลิเคชันที่เป็นศูนย์กลางขององค์กร เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน ทำให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ส่งผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนพนักงาน และองค์กรได้มากขึ้น
- เก็บรักษาข้อมูลได้อย่างปลอดภัยสูงสุด การสื่อสารหรือส่งเอกสารสำคัญต่างๆในการทำงานผ่านแอปพลิเคชันภายในองค์กรจะเป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลภายในองค์กร อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญถูกจัดเก็บไว้ในบริษัทด้วยระบบที่มีการดูแล ปกป้อง และคุ้มครองข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสุด
ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนต่างใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันกันแทบทุกเจเนอเรชัน Mobile Application จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารผ่านออนไลน์ที่เพิ่มความสะดวกในการสื่อสาร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร อีกทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ดิจิทัล สร้างความผูกพันให้ทีมงาน เพื่อนร่วมงาน และองค์กร ใกล้ชิดกันได้มากขึ้น ไม่ว่าจะนั่งทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม
นับตั้งแต่วันที่ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มผลิตขึ้นมา โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไป
การบริโภคเครื่องดื่มจากขวดพลาสติกนั้นแสนสะดวกสบาย ยอดขายเครื่องดื่มบรรจุขวดที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตขวดน้ำพลาสติกที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และในที่สุดก็เป็นการสร้างขยะขวดพลาสติกที่กลายเป็นปัญหาสะสมมาเนิ่นนานอย่างที่ชาวโลกไม่รู้ตัว
ลองสังเกตง่าย ๆ ถ้าวันนี้เรากระหาย อยากดื่มเครื่องดื่มเพิ่มความรู้สึกสดชื่น เราก็มักจะเดินไปที่ร้านค้า หยิบน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มบรรจุพลาสติกขึ้นมาแล้วเดินไปจ่ายเงิน ก่อนเปิดดื่ม และทิ้งขวดเหล่านั้นไปโดยอัตโนมัติ หนึ่งคำถามฉุกคิดคือ เราเคยย้อนมองกันไหมว่า ที่ผ่านมา เราทิ้งขวดพลาสติกกันมานานและมากแค่ไหนแล้ว และจุดหมายปลายทางของขวดพลาสติกเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ทำไมทุกวันนี้เราถึงได้เห็นภาพขยะขวดพลาสติกและขยะอื่น ๆ กองกันเป็นภูเขาล้นโลก
การหลั่งไหลของพลาสติก
ตั้งแต่มีการเริ่มผลิตพลาสติกในช่วงทศวรรษที่ 20 มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากพลาสติกมากมาย และนำไปสู่ต้นกำเนิดของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ปูทางให้เกิดการผลิตสินค้าในปริมาณมหาศาล สินค้านับไม่ถ้วนที่เราใช้ในปัจจุบันต่างก็ต้องพึ่งพาบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อความปลอดภัย พร้อมความสะดวกในการขนส่งและการบริโภค ซึ่งรวมถึงขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันเวลาผ่านไป สิ่งที่ตามมาจากความสะดวกสบายในการบริโภค คือขยะพลาสติกที่นับวันยิ่งล้นโลก ข้อมูลจาก Reuters ระบุว่า ในปี 2018 ปริมาณการใช้ขวดพลาสติกทั่วโลกในหนึ่งปีอยู่ที่ 481.6 พันล้านขวด ส่วนสถิติการใช้ขวดพลาสติกในประเทศไทยสูงถึงปีละ 4,000 ล้านขวด
รู้หรือไม่ว่า จำนวนขวดพลาสติกมหาศาลขนาดนี้ ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด ขยะพลาสติกเหล่านี้จะยังคงอยู่บนโลกของเราไปเป็นร้อยปี กว่าจะย่อยสลายไปด้วยตัวเอง
เรื่องจริงของขวดน้ำพลาสติก
หลาย ๆ คนอาจคิดว่า ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม สามารถรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีข้อเท็จจริงอีกหลายประการที่ควรตระหนักให้มากขึ้น ลองมาดูข้อมูลน่ารู้เหล่านี้กัน
- ขวดพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลได้มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ขวดพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้จะกลายเป็นขยะและฝังกลบอยู่ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้
- ทุกวินาทีที่กำลังดำเนินไป จะมีขวดพลาสติกประมาณ 1,500 ขวดกลายเป็นขยะในบ่อฝังกลบหรือถูกโยนลงทะเล
- ขวดพลาสติก PET 1 ขวด ใช้เวลาถึง 700 ปีจึงจะเริ่มย่อยสลาย เพราะแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยวัสดุธรรมชาติ ไม่ชอบพลาสติกที่มีสารพื้นฐานจากปิโตรเลียม อาจกล่าวได้ว่า ขวดพลาสติกเหล่านี้อาจจะคงอยู่ตลอดไป
- ร้อยละ 90 ของขยะในทะเลที่พัดพาขึ้นมาตามชายหาดหลายๆ แห่งคือขวดน้ำพลาสติก โดยเฉพาะฝาที่ตกค้างอยู่ตามหาดทรายและซอกหิน
- แม้ว่าขวดพลาสติกจะนำไปรีไซเคิลได้ แต่กระบวนการรีไซเคิลต้องใช้พลังงานมหาศาล กลายเป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในบรรยากาศ
ทรู ร่วมปรับเปลี่ยน เพื่อโลกที่ดีกว่า
ทรู เป็นหนึ่งในองค์กรไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายด้านความยั่งยืน ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยในด้านสิ่งแวดล้อม ทรูมีนโยบาย Net Zero Carbon โดยเฉพาะเรื่องการลดใช้พลาสติก ด้วยเป้าหมายลดการนำขวดพลาสติกเข้ามาในอาคารให้มากที่สุดจนเหลือเป็นศูนย์ ตอกย้ำความพร้อมเดินหน้าสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ด้วยความมุ่งมั่นลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2573 ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู
ทรูได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ด้วยความกล้าคิด กล้าทำ และใส่ใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุด พร้อมดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานทรู ควบคู่ไปกับการส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้สังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือโครงการ Say No to Plastic Bottles
ดื่มน้ำกรอง RO สุดสะอาด ร่วมกัน Say No to Plastic Bottles
ทรู รวมพลังพนักงานร่วมกัน ลด ละ เลิกการใช้ขวดน้ำพลาสติก โดยหันมาพกแก้วน้ำและขวดน้ำส่วนตัวมาที่ออฟฟิศ เพื่อบรรจุน้ำกรองที่มีความบริสุทธิ์สำหรับดื่ม ที่ทรูจัดเตรียมไว้ให้พนักงานโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ RO Water นั่นเอง
โดย ทรู เลือกใช้อุปกรณ์มาตรฐานสูง และกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน สร้าง RO Water Plant เครื่องผลิตน้ำ RO + UV ด้วยกำลังการผลิต 24,000 ลิตรต่อวัน ผ่านมาตรฐาน NSF / ASME BPE ในห้องปลอดเชื้อ Class 100,000 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อผลิตน้ำดื่มคุณภาพสูงเทียบเท่าน้ำกลั่น มีความบริสุทธิ์สูง ไว้ให้พนักงานได้บริโภคอย่างมั่นใจ และใช้ท่อสแตนเลส 316L ซึ่งเป็นเกรดทางการแพทย์สำหรับจ่ายน้ำไปยังตู้กดน้ำมากกว่า 60 จุดกระจายทั่วทุกชั้นในอาคารทรู ทาวเวอร์ 1
พนักงานสามารถนำขวดหรือแก้วน้ำมาเติมน้ำดื่ม RO ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย แทนการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก ซึ่งจากสถิติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขขยะประเภทขวดพลาสติกในอาคารทรู ทาวเวอร์ มีจำนวนเฉลี่ยปีละ 400,000 ขวด เมื่อพนักงานทรูร่วมใจกันคนละไม้คนละมือ ใน 1 ปี จะสามารถลดขยะพลาสติกได้ถึง 409,404 ขวด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ได้ถึง 53.54 ตัน
RO Water Plant นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ทรูบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายในการลดการใช้พลาสติก ในขณะเดียวกัน ยังสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี ให้แก่บุคลากรในองค์กรอีกด้วย
ตู้รีฟัน เปลี่ยนการทิ้งขวดพลาสติกเป็นพลังสร้างสรรค์
ส่วนใครที่เข้ามาติดต่ออาคารทรู หรือพนักงานที่ใช้ขวดน้ำดื่มพลาสติก ยังสามารถร่วมนำขวดพลาสติกแบบ PET ชนิดใส เช่น ขวดน้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำชา น้ำหวานต่าง ๆ มาหยอดคืนที่ Refun Machine หรือเรียกกันว่า ตู้รีฟัน ที่ทรูได้ติดตั้งไว้ที่บริเวณชั้น G อาคารทรู ทาวเวอร์ 1 เพื่อให้เครื่องตรวจสอบคิดเป็นแต้มสะสม เปลี่ยนการทิ้งเป็นพลังสร้างสรรค์ ทำให้การรีไซเคิลง่ายขึ้น เปลี่ยนขยะเป็นแต้มสะสม ไปแลกของรางวัลต่าง ๆ หรือร่วมบริจาคสำหรับทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งขวดเหล่านั้นจะถูกนำไปย่อยสลายอย่างถูกวิธีต่อไป
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เข้ามาพลิกชีวิตผู้คนและธุรกิจทุกวงการ รวมไปถึงภาคเกษตรกรรม ที่แต่เดิมต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้ามาสู่ยุค 5G ความล้ำหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดเทรนด์โลกที่เรียกว่า ‘Smart Farming’ หรือการเกษตรอัจฉริยะ
ในหลายประเทศ เทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเกษตรกรไปแล้ว อย่างเกษตรกรชาวเกาหลีใต้ เรียกได้ว่าเป็น Tech-Savvy ตัวจริง ก็มีสตรอว์เบอร์รี่เกาหลีที่เป็นของฝากยอดฮิตซึ่งเป็นผลผลิตของ Smart Farming โดยใช้ AI วิเคราะห์และสร้างสภาพแวดล้อมฟาร์มที่ดี และใช้ Big Data วางแผนการเกษตร ไปจนถึงใช้โดรนรดน้ำใส่ปุ๋ย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ควบคุมได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือในไต้หวันก็ไม่น้อยหน้า เตรียมนำอุปกรณ์ทุ่นแรงที่สวมใส่ได้มาใช้แก้ปัญหาเกษตรกรที่อายุมากขึ้น โดยอุปกรณ์นี้ช่วยให้ยกของได้หนักขึ้นถึง 9 กิโลกรัม!
วงการเกษตรกรรมไทยเองก็กำลังก้าวไปข้างหน้าเช่นกัน หลากหลายบริษัทเทคและสตาร์ทอัพเริ่มหันมาจริงจังกับเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงกลุ่มทรู ที่ได้ริเริ่มดิจิทัลโซลูชัน นำเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ทั้ง IoT, Robotics, AI และ Analytics เข้ามาขับเคลื่อน Smart Farming ในไทยอย่างเต็มที่ ถ้าพร้อมแล้ว เรามาก้าวสู่ ‘ยุคเกษตร 5G’ ไปด้วยกัน
รู้จัก ทรู ฟาร์ม มิติใหม่ของเกษตรกรรมไทยในยุค 5G
ถึงเวลาเปิดโลกเกษตรกรรมไทย เพื่อส่องดูว่ามีพื้นที่ตรงไหนที่เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเติมเต็มได้บ้าง ถ้าลองมองภาพใหญ่แล้ว จะเห็นว่าเป้าหมายของเกษตรกรส่วนใหญ่คือ ต้องการลดต้นทุน ทุ่นแรง พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มผลผลิต ที่สำคัญคือ การรับมือได้ดีขึ้นกับอุปสรรคที่มาทำลายผลผลิต จุดนี้เอง คือพื้นที่ว่างที่เทคโนโลยี Smart Farming จะเข้ามาช่วยเสริมได้
ทรู ดิจิทัล มุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างตรงจุด จึงได้คิดค้นโซลูชัน ‘ทรู ฟาร์ม’ (True Farm) เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะครบวงจรขึ้นมา โดยพัฒนาภายใต้แนวคิดแนวคิด ‘การเกษตรแม่นยำ’ (Precision Farming) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับเกษตรกรรมไทย แนวคิดการเกษตรแม่นยำนี้จะใช้วิธีเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เชิงลึก ทำให้สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ตรงจุด พร้อมวางแผนการเกษตรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำเหลือเชื่อ
เบื้องหลังความสำเร็จของ ทรู ฟาร์ม ก็คือเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เร็วแรง และมีความเสถียรสูง สามารถรับและส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ที่สำคัญคือ มีการออกแบบให้ ทรู ฟาร์ม ใช้งานง่าย ถึงแม้ไม่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีก็ใช้งานได้ จึงตอบโจทย์เกษตรกรทุกคนในการเกษตรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เกษตรพืช หรือ ปศุสัตว์
เบื้องหลังความสำเร็จของ ทรู ฟาร์ม ก็คือเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เร็วแรง และมีความเสถียรสูง สามารถรับและส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ที่สำคัญคือ มีการออกแบบให้ ทรู ฟาร์ม ใช้งานง่าย ถึงแม้ไม่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีก็ใช้งานได้ จึงตอบโจทย์เกษตรกรทุกคนในการเกษตรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เกษตรพืช หรือ ปศุสัตว์
โซลูชันเพื่อลดต้นทุน แต่เพิ่มพูนผลผลิต
ในช่วงที่ต้นทุนต่าง ๆ ทยอยขึ้นราคา ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย น้ำ หรือยาที่ใช้กับพืช หัวใจสำคัญคือ การบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ถ้าหากใช้ทุกอย่างได้คุ้มค่า ก็จะลดความสิ้นเปลือง และตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้มากกว่าที่คิด
ทรู ฟาร์ม โดรน (True Farm Drone) และ ทรู ฟาร์ม โกรว์ (True Farm Grow) คือผู้ช่วยที่เข้ามาช่วยเกษตรกรไทยในด้านการบริหารจัดการทรัพยากร เริ่มที่ทรู ฟาร์ม โดรน ซึ่งเป็นโดรนบินอัจฉริยะ ทำหน้าที่ให้ปุ๋ยและยาสำหรับพืช ส่วนทรู ฟาร์ม โกรว์ คืออุปกรณ์ IoT ที่คอยให้น้ำและดูแลการเพาะปลูก โดยทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้มี AI ที่คำนวณปริมาณปุ๋ย น้ำ และยาที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการใช้ต้นทุนอย่างเสียเปล่า ช่วยให้เกษตรกรควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดการใช้แรงงานได้อีกด้วย
เมื่อเกษตรกรลดต้นทุนได้ ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย โดยสินค้าการเกษตรก็จะมีราคาที่เอื้อมถึงได้ และยังมีคุณภาพได้มาตรฐานคงที่ หรืออาจจะคุณภาพสูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สภาพแวดล้อมที่ดี มีเทคโนโลยีอยู่เบื้องหลัง
เราต่างรู้ดีว่าภาวะโลกร้อนสร้างผลกระทบให้กับผู้คนทั่วโลก รวมถึงเหล่าเกษตรกรด้วย ถึงแม้ธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เทคโนโลยีคือตัวช่วยที่ทำให้เรารับมือได้ดีขึ้น ทรู ฟาร์ม ได้สร้างโซลูชันสำหรับช่วยเกษตรกรรับมือกับสภาพอากาศ โดยการติดตั้งเซนเซอร์ไว้ใต้ดินเพื่อวัดความชื้น พร้อมนำอุปกรณ์ IoT มาปรับใช้เป็นระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เมื่อความชื้นของดินต่ำลง ระบบจะสั่งให้รดน้ำเพิ่มตามความต้องการของพืช หรือถ้าหากมีความชื้นสูงผิดปกติ เสี่ยงที่จะมีน้ำท่วม ก็จะแจ้งเตือนไปยังเกษตรกรทันที ในสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนนี้ เกษตรกรก็ไม่ต้องนั่งเดาใจฟ้าฝนอีกต่อไป
ไม่ใช่แค่การปลูกพืชที่ต้องพึ่งพาลมฟ้าอากาศ อันที่จริงแล้วการเลี้ยงสัตว์ก็เช่นกัน เพราะอากาศที่แปรปรวนทำให้สัตว์ปรับตัวได้ยาก อย่างเช่น ฟาร์มไก่ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจการเกษตรที่ต้องใส่ใจในสภาพอากาศอย่างมาก True Farm Chicken จึงถูกสร้างขึ้นสำหรับฟาร์มไก่โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นระบบฟาร์มอัตโนมัติ (Farm Automation) ที่นำอุปกรณ์ IoT มาใช้ โดยมีเซนเซอร์คอยมอนิเตอร์สภาพแวดล้อมทั้งอุณหภูมิ ความชื้น แสง และความเร็วลม พร้อมรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ ถ้ามีความผิดปกติก็จะแจ้งเตือนได้ทันที โดยสามารถสั่งงานได้ผ่านสมาร์ทโฟน ทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าไก่จะเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด โดยที่ตัวเกษตรกรเองไม่ต้องอยู่ที่ฟาร์มตลอดเวลาก็ได้
อีกหนึ่งประเภทของฟาร์มที่ต้องควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างระมัดระวังและใกล้ชิด ก็คือ กุ้ง ซึ่ง ทรู ฟาร์ม ก็เข้าใจในจุดนี้ดี จึงสร้างสรรค์ True Farm Shrimp ขึ้นมาสำหรับฟาร์มกุ้งโดยเฉพาะเช่นกัน ระบบโดยรวมก็จะทำงานคล้าย ๆ กับฟาร์มไก่ นั่นก็คือจะใช้เซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพนํ้าและรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้ดูแลฟาร์มควบคุมอากาศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ อีกทั้งยังมีโซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพในการให้อาหารกุ้ง โดยใช้กล้องและเทคโนโลยี AI วิเคราะห์พฤติกรรมของกุ้ง เพื่อปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมด้วย
เทคโนโลยีฮีโร่ป้องกันโรค เพื่อฟาร์มสะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย
ศัตรูตัวฉกาจของเหล่าเกษตรกรมาในรูปแบบของ ‘โรค’ โดยเฉพาะฟาร์มสัตว์ที่ต้องเผชิญโรคร้ายอย่างไม่คาดคิดอยู่บ่อย ๆ เราจึงต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ป้องกันโรคอีกขั้น กรณีตัวอย่างคือ ในฟาร์มหมู ที่มีการนำโซลูชัน True Farm Pig มาใช้โดยติดตั้งอุปกรณ์ IoT ทั่วฟาร์ม คอยตรวจสอบและรายงานสภาพแวดล้อมของโรงเรือนเลี้ยงหมู โดยที่เกษตรกรไม่ต้องเข้าไปในพื้นที่ พร้อมกันนี้ ยังใช้กล้องตรวจจับและวิเคราะห์พฤติกรรมของหมู ซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบหมูที่เริ่มมีอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัตวแพทย์เข้าดูแลและทำการรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดในสัตว์ที่จะกระทบต่อปริมาณผลผลิต และยังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน รวมถึงมีระบบตรวจสอบความสะอาดของคนหรือสัตว์ใหม่ที่จะเข้าไปในฟาร์ม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีพาหะนำโรคเข้ามาปะปน
ในส่วนของวัว โรคที่ต้องระวังคือโรคลัมปี สกิน ที่เคยสร้างความเสียหายให้ฟาร์มมานับไม่ถ้วน แต่ในวันนี้ เกษตรกรเบาใจได้มากขึ้น เพราะสามารถดูแลสุขภาพของวัวและกระบือได้อย่างใกล้ชิด กับเทคโนโลยี True Farm Cow ที่มาพร้อมแท็กติดหูและสายคล้องคอตรวจวัดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การกิน และการเคี้ยวเอื้อง เพื่อประเมินสุขภาพของสัตว์ได้ พร้อมส่งข้อมูลไปยังเกษตรกรได้ทันทีคล้ายกับสมาร์ทวอทช์ของคน ซึ่งช่วยในการดูแลวัวแต่ละตัวได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สำหรับเกษตรกรโคนม True Farm Cow ยังช่วยให้ผู้เลี้ยงวัวนมไม่พลาดช่วงของการทำการผสมเทียมวัวนม จึงช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ขณะเดียวกันระบบก็ยังทำหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดภายในฟาร์มไปด้วย นับเป็นการป้องกันโรคในทุก ๆ ทาง
การนำ ทรู ฟาร์ม เข้ามาใช้ ยังช่วยการันตีความสบายใจของผู้บริโภคไปด้วย เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วย ก็เป็นการตอกย้ำคุณภาพและมาตรฐานเรื่องของสะอาดปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่มาจากฟาร์มได้นั่นเอง
เกษตรกรรมยุค 5G ที่จะกำหนดอนาคตประเทศไทย
ถึงตรงนี้ เชื่อว่าเราคงได้เห็นกันแล้วว่าเทคโนโลยีจะสามารถเข้ามาช่วยเกษตรกรได้มากขนาดไหน เกษตรกรไทยจำนวนมากก็อยู่ในช่วงที่กำลังเรียนรู้และปรับใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ และหลายภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชน ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันด้วยความหวังที่จะเห็น Smart Farming ประสบความสำเร็จในประเทศไทย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตคนไทยยังคงต้องพึ่งพาเกษตรกรรม ทั้งการจ้างงานในภาคเกษตรซึ่งเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของแรงงาน อีกทั้งการเกษตรยังนับเป็น ‘ครัว’ ของคนทั้งประเทศ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรไทยจึงไม่ได้ส่งผลดีเพียงแค่กับกลุ่มเกษตรกร แต่ยังสร้างประโยชน์ให้กับคนทั้งประเทศไทยเลยก็ว่าได้ นี่คืออีกหนึ่งความมุ่งมั่นของกลุ่มทรูที่จะนำเทคโนโลยีส่งเสริมเกษตรกรไทยทุกคน เราเชื่อว่า เกษตรกรไทยจะสามารถใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาการผลิต และช่วยกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตรไทยก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับยุค 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง:
- https://www.startus-insights.com/innovators-guide/agriculture-trends-innovation/
- https://www.agroberichtenbuitenland.nl/actueel/nieuws/2022/08/16/how-smart-is-south-koreas-smart-agriculture-time-for-an-upgrade
- https://www.agroberichtenbuitenland.nl/actueel/nieuws/2022/10/19/south-korean-government-encouraging-young-farmers-and-smart-agriculture
- https://www.ajudaily.com/view/20211223172938925
- https://vir.com.vn/taiwan-harnesses-smart-agriculture-to-promote-digital-equality-for-farmers-94555.html
- https://www.pier.or.th/abridged/2022/14/
- https://eng.coa.gov.tw/ws.php?id=2505648
ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับงานสัมมนาระดับภูมิภาค "MIT Media Lab Southeast Asia Forum" จัดโดย MIT Media Lab หน่วยงานวิจัยของโลกด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การออกแบบ และศิลปะของสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย กลุ่มทรู ร่วมสนับสนุนและเปิด ทรู ดิจิทัล พาร์ค เป็นสถานที่จัดงาน พร้อมนำระบบนิเวศดิจิทัลครบวงจรที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับวงการเทคและสตาร์ทอัพ ร่วมแสดงศักยภาพความสามารถของคนไทยต่อสายตาผู้ร่วมงานจากทั่วโลก
โดยมี นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ "Human+AI : Opportunities and Challenges" แบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ที่จะพลิกโฉมโลกธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คน ตอกย้ำความมุ่งมั่นและความเป็นผู้นำของกลุ่มทรู ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจไทย ความสามารถทางการแข่งขัน และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมตั้งเป้าขยายความร่วมมือทั้งในด้านธุรกิจ การพัฒนาโซลูชัน และสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมระดับแนวหน้าให้แก่ผู้ประกอบการเทคและสตาร์ทอัพประเทศไทยอย่างเต็มที่
เทคโนโลยี AI เปลี่ยนชีวิต พลิกโฉมธุรกิจไทย
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวย้ำความเป็นผู้นำของ กลุ่มทรู ที่ก้าวสู่การเป็นบริษัทเทคว่า มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลครบวงจร พร้อมยกตัวอย่างนวัตกรรมที่ทรูได้พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี AI ผสานความรู้ของผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา เพื่อช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ภาคสาธารณสุข เกษตรกรรม และค้าปลีก
สาธารณสุข : ผนึกพันธมิตร ขยายบริการทางการแพทย์ให้รวดเร็วและทั่วถึง
แม้ว่าประเทศไทยจะมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการจำนวนมาก แต่ยังไม่เพียงพอในการดูแลรักษาผู้ป่วย อีกทั้งแพทย์ส่วนมากอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่และอยู่ในเมือง ทำให้การกระจายการรักษาพยาบาลยังไม่เพียงพอ ทรู จึงมุ่งมั่นในการกระจายบริการรักษาพยาบาลออกไปจากศูนย์กลาง มีโอกาสทำงานร่วมกับสถาบันการแพทย์หลายแห่งทั้ง รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช ที่มีอาจารย์แพทย์จำนวนมาก
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ราว 400,000 ราย และมีความเชื่อในการผสานโลกกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ MIT Media Lab ที่ว่า การผสมผสานของดิจิทัลและคนย่อมดีกว่าการพึ่งพาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว โดยทรูได้เปิด "มุมสุขภาพ" หรือ "True HEALTH Corner" ในพื้นที่หลายแห่ง มีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าต่างๆ ของร่างกายเบื้องต้นและ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ได้ทันที ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ทรู ยังทำงานร่วมกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดศูนย์สุขภาพรามาธิบดี ขยายพื้นที่ให้บริการที่ใหญ่และเพิ่มบริการหลากหลายมากขึ้น อาทิ บริการเจาะเลือด และเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เอกซเรย์ปอด และ EKG เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์ รวมถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะหรือ Smart EMS (Smart Emergency Medical Service) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการจากความร่วมมือกับ โรงพยาบาลศิริราช ที่สะท้อนให้เห็นนวัตกรรมโซลูชันที่ชูศักยภาพของมนุษย์ โดยมีความชำนาญการของแพทย์ พยาบาล เป็นตัวนำ และเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย
สิ่งนี้เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของทรูที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นและจะเป็นจริงได้ด้วยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ และเชื่อว่าในอนาคตหากมีมุมมองแบบองค์รวมของการดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงถึงกันจะสามารถสร้างสรรค์และให้บริการโซลูชันที่ดียิ่งขึ้นเท่าทวีคูณเพื่อประชาชน
เกษตรกรรม : เกษตรอัจฉริยะกับความท้าทายในการเพิ่มผลผลิต
แม้ภาคการเกษตรจะเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ในประเทศไทย แต่กลับยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของ เกษตรกร และนำมาซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทรูจึงพัฒนานวัตกรรมหลากหลายเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สำหรับกลุ่มเกษตรพืช โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและโดรนสอดส่องปัญหาและคาดเดาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ด้านปศุสัตว์ใช้เทคโนโลยี IoT และ Analytics ในการตรวจจับและวิเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ เช่น ในฟาร์มโคนม จะใช้เครื่องตรวจวัดสุขภาพที่สามารถแจ้งเตือนปัญหาเพื่อปรับเปลี่ยนการเลี้ยงโคให้เหมาะสม ส่วนในฟาร์มสุกรและกุ้ง จะนำระบบวิเคราะห์ด้วยวิดีโอที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของสุกรและกุ้ง เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ทั้งนี้ การวางระบบที่แม่นยำ การคาดการณ์ปริมาณผลผลิต จักรกลช่วยเก็บเกี่ยว และการตรวจสอบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ ล้วนเป็นความท้าทายที่ทรูและเหล่าสตาร์ทอัพทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมนี้
ค้าปลีก : พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกด้วยเทคโนโลยี AI
เนื่องจาก ธุรกิจค้าปลีก ยังสามารถต่อยอดพัฒนาได้อีกมากมาย ทั้งเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพและการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทรูจึงพัฒนาโซลูชันต่างๆ ที่ช่วยลดช่องว่างดังกล่าว เช่น Heatmap ทำให้ทราบพฤติกรรมของลูกค้าในการเดินซื้อสินค้า เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการ และระบบตรวจสอบชั้นวางสินค้าที่ว่าง พร้อมแจ้งเติมสินค้าและเชื่อมโยงกับคลังสินค้าเพื่อการวางแผน รวมถึงระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์และตรวจสอบระบบตู้แช่เย็น เพื่อการดูแลรักษาคุณภาพ ซึ่งล้วนอาศัยการทำงานร่วมกันของมนุษย์และ AI ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความต้องการซื้อสินค้า การจัดการสินค้า การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า การนำเสนอโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้ง องค์กร สตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐ นักวิจัย และนักประดิษฐ์ ที่จะผสานเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบนิเวศเพื่อเผชิญความท้าทายเหล่านี้ไปด้วยกัน
ทัศนคติเชิงบวกและความเชื่อมั่นคือพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม
นายณัฐวุฒิ กล่าวสรุปพร้อมสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ร่วมงานว่า แม้ AI จะช่วยยกระดับการทำงานให้กับมนุษย์ได้ แต่ความเห็นอกเห็นใจยังเป็นสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้ การทำงานร่วมกันของมนุษย์และ AI จึงเป็นแนวทางที่ ทรู เชื่อและทำเสมอมา ซึ่งการสร้างนวัตกรรมนั้นมักจะต้องพบกับความสงสัยในความเป็นไปได้อยู่เสมอ แต่นั่นคือโอกาสที่จะเป็นคนแรกที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้น ทัศนคติเชิงบวก และความเชื่อมั่นจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนเปิดใจ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นวัตกรรมต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้จริง
ถ้าพูดถึง ‘หุ่นยนต์’ ทุกคนจะนึกถึงอะไรกันบ้าง?
หลายคนอาจเห็นภาพหุ่นยนต์แมวพี่เลี้ยงสายซัพพอร์ตอย่างโดราเอมอน หุ่นยนต์แปลงร่างใน Transformers หุ่นยนต์ที่ถอดแบบโครงสร้างมนุษย์จากภาพยนตร์หรือซีรีส์ Sci-Fi ชื่อดังอย่าง Bicentennial Man, I, Robot, Westworld ฯลฯ ภาพจำเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกว่าหุ่นยนต์เป็นเรื่องของโลกอนาคตแสนห่างไกล แต่แท้จริงแล้ว หุ่นยนต์ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทใกล้ชิดกับชีวิตผู้คนมานานหลายทศวรรษ แม้หลายเคสจะยังอยู่ในระยะของการพัฒนาแต่ก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ในปัจจุบัน แม้แต่บริษัทระดับโลกต่าง ๆ เริ่มนิยมนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้เพื่อช่วยพนักงานทำงานมากขึ้น อย่าง Amazon บริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่ ก็เริ่มใช้หุ่นยนต์ช่วยจัดการสต็อกและออร์เดอร์ รวมถึงส่งของดิลิเวอรีในบางพื้นที่ พร้อมเผยว่าหุ่นยนต์ช่วยให้บริษัททำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 20% รวมทั้งในวงการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวงการยานยนต์ที่ให้ความสนใจพัฒนา Wearable Robotics (อุปกรณ์หุ่นยนต์ประเภทสวมใส่ได้) ที่เน้นช่วยผู้ป่วยอัมพาตจากอุบัติเหตุ หุ่นยนต์กู้ภัยที่สามารถวิ่ง บิน คลานหรือแม้แต่ดำน้ำเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ไปจนถึงวงการแฟชั่นที่ยอมเปิดทางให้นางแบบหุ่นยนต์ได้ออกมาเฉิดฉายบนรันเวย์ หรือแม้กระทั่งรับบทเป็นดีไซเนอร์ออกแบบเสื้อผ้าเสียเอง น่าทึ่งไหมล่ะ!
ส่องเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไทยไปกับ ‘True Robotics’
เมื่อหุ่นยนต์กลายเป็นเมกะเทรนด์สุดอิมแพค ไม่ใช่เพียงทั่วโลกที่ให้ความสนใจ แต่ในประเทศไทยก็เช่นกัน หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในภาคการผลิตจำนวนมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ หรือในส่วนงานบริการก็มีหุ่นยนต์ที่เราได้เห็นกันบ่อย ๆ เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารหรือหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านหรือผนังกระจกสูง ยิ่งเมื่อมีเครือข่าย 5G ผสานกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้ว วงการหุ่นยนต์ไทยก็ดูจะยิ่งพัฒนาได้ไกลกว่าเดิมและมีโอกาสฉายแสงได้ไม่แพ้ใคร
กลุ่มทรูเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่า หุ่นยนต์คือหนึ่งในนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยในยุคดิจิทัล ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค จึงได้จัดตั้ง ‘True Robotics’ หน่วยงานวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้ง Hardware และ Software โดยมุ่งศึกษาข้อมูลหุ่นยนต์จากทั่วโลก พร้อมทำการวิจัย ทดลองและพัฒนา จนสามารถสร้างสรรค์หุ่นยนต์สัญชาติไทยได้สำเร็จ อีกทั้งยังได้รับรางวัลนวัตกรรมจากหลากหลายเวทีประกวดระดับนานาชาติ
ห้องแล็บวิจัยของ True Robotics ได้ศึกษา วิจัย และพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งหมด 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทก็จะมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของคนหรือภาคธุรกิจที่แตกต่างกันไป
- ชีวิตง่ายขึ้นด้วยหุ่นยนต์ที่เปรียบเสมือน ‘เพื่อนในบ้าน
หากจะพูดถึงหุ่นยนต์ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด คงไม่พ้น หุ่นยนต์ในบ้าน (Home Robot) หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อ ‘Smart Home’ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายภายในบ้านให้กับเราตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน หุ่นยนต์ประเภทนี้มีฟังก์ชันที่หลากหลาย และยังเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ภายในบ้านได้ ให้ผู้ใช้งานควบคุมได้ดั่งใจ
‘HOMEY’ คือหุ่นยนต์ในบ้านสัญชาติไทยที่พัฒนาโดยทีม True Robotics ด้วยหน้าตาที่ดูน่ารักเป็นมิตรบวกกับความสามารถในการอำนวยความสะดวกรอบด้าน HOMEY จึงเปรียบเสมือนเป็น ‘เพื่อนในบ้าน’ ของผู้ใช้งาน นอกจากจะรองรับการสั่งงานด้วยเสียง และจดจำใบหน้าของคนในบ้านได้แล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หน้าตา การเคลื่อนไหว และการแสดงความรู้สึกไปตามการตั้งค่าของผู้ใช้งานได้อีกด้วย
HOMEY มาพร้อมฟังก์ชันที่ครอบคลุม จึงทำงานร่วมกับเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะได้เป็นอย่างดี ทั้งเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT Smart Home เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน และรองรับแอปพลิเคชันการใช้งานพื้นฐานต่าง ๆ ได้ครบ เช่น วิดีโอสตรีมมิง วิดีโอคอล ระบบแจ้งเตือน นอกจากนี้ก็ยังติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้ตามใจผู้ใช้งาน ที่สำคัญ สามารถช่วยดูแลสุขภาพผู้ใช้งานได้ด้วยการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์การทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด พร้อมแสดงผลบนหน้าจอ เพื่อเป็นข้อมูลปรึกษาแพทย์ทางไกลผ่านวิดีโอคอล รวมถึงช่วยแจ้งเตือนการกินยาหรือตรวจเช็กร่างกายได้อีกด้วย
เทคโนโลยีอันชาญฉลาดเหล่านี้ ทำให้หุ่นยนต์ HOMEY ได้รับรางวัลระดับโลกในปี 2565 นั่นคือ รางวัลเหรียญทองสิ่งประดิษฐ์ และรางวัลพิเศษสำหรับผลงานนวัตกรรมสุดประทับใจ จากเวทีการแข่งขันชั้นนำระดับโลกอย่าง World Invention Innovation Contest 2022 ที่จัดโดย The Korea Invention Newspaper (KINEWS) และได้รับการสนับสนุนจาก Korea Invention Academy (KIA) สมาคมส่งเสริมนักคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อาเซียน และสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ ณ ประเทศเกาหลีใต้ สะท้อนถึงความสำเร็จและความทุ่มเทของกลุ่มทรูและทีม True Robotics ได้อย่างชัดเจน
- หุ่นยนต์เพื่อคนทำธุรกิจ ช่วยเซอร์วิสอย่างครบวงจร
สำหรับเจ้าของธุรกิจ SMEs แล้ว การบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพคือหัวใจสำคัญ หุ่นยนต์บริการ (Service Robot) จึงเป็นโซลูชันที่ลงตัว เพราะช่วยลดต้นทุนด้านบุคลากรได้ โดยที่มาตรฐานงานบริการไม่ลดตามไปด้วย หุ่นยนต์บริการนี้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งในห้างสรรพสินค้า งานแสดงสินค้า ร้านค้า และร้านอาหาร โดยสามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การช่วยค้นหาและนำทางไปยังชั้นวางสินค้าที่ต้องการซื้อ ไปจนถึงการเสนอโปรโมชันที่น่าสนใจผ่านหน้าจอให้ลูกค้า นอกจากนี้ ยังช่วยดูแลและตรวจสอบสต็อกสินค้าได้ หากสินค้าหมดจะแจ้งเตือนไปยังระบบทันที เพื่อให้พนักงานเติมสินค้ารองรับลูกค้าได้ทัน ช่วยให้ไม่เสียโอกาสในการขาย แถมเพิ่มประสบการณ์ให้การซื้อขายน่าประทับใจยิ่งขึ้น
ด้วยจุดเด่นของ Service Robot ที่ช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตสู่ยุคนิว นอร์มัล ให้ผู้คนลดการสัมผัสกันโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ทีม True Robotics จึงสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน จากเวทีประกวดผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติ “XXIII Moscow International Inventions and Innovative Technologies Salon” หรือ ARCHIMEDES-2020 จากสหพันธรัฐรัสเซีย นับเป็นอีกหนึ่งผลงานของคนไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
อีกหนึ่งรูปแบบของหุ่นยนต์บริการที่น่าสนใจ คือหุ่นยนต์ที่ใช้ระบบ AI สื่อสารตอบโต้กับผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด พร้อมให้ข้อมูลผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น True 5G ROBO-GREET หุ่นยนต์ Humannoid อัจฉริยะ ที่มาพร้อมความฉลาดของ AI ที่นอกจากช่วยให้ข้อมูลแล้ว ยังฉลาดตรงสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้ใช้งานผ่านทางสีหน้าท่าทางได้อีกด้วย
- เทรนด์การศึกษายุค 5G มีหุ่นยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน
ใครว่าการศึกษาต้องอยู่บนตำราเท่านั้น การศึกษายุคใหม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา หรือการใช้เทคโนโลยี VR / AR เป็นสื่อการสอน และแน่นอนว่า หุ่นยนต์เพื่อการศึกษา (Education Robot) ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์ EdTech ที่กำลังมาแรง หุ่นยนต์นี้อาจไม่ได้ทำหน้าที่แทนครูทั้งหมด แต่จะเป็นผู้ช่วยนำเสนอสื่อการสอนให้สนุกและน่าสนใจ เพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนด้วยข้อมูลที่แม่นยำและการตอบสนองแบบเรียลไทม์ มั่นใจได้ว่าผู้เรียนจะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เช่น หุ่นยนต์ไอน์สไตน์สัญชาติฮ่องกง ที่เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ด้วย AI ที่เชี่ยวชาญในวิชาวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ หุ่นยนต์ไอน์สไตน์จึงสามารถสอน ตอบคำถาม และช่วยนักเรียนทบทวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุ่นใจเหมือนมีนักฟิสิกส์คนดังมาติวให้แบบใกล้ชิด
- หุ่นยนต์รูปแบบใหม่ยังเกิดขึ้นได้เสมอด้วย AI และ 5G
นอกจากหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เทคโนโลยี AI และเครือข่าย 5G ยังรังสรรค์ให้เกิดหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการอีกหลากหลายด้านที่เราอาจคาดไม่ถึง เช่น ‘Pongbot’ หุ่นยนต์สายสปอร์ต สำหรับช่วยนักกีฬาปิงปองฝึกซ้อม ทำหน้าที่เหมือนโค้ชมืออาชีพ จับการเคลื่อนไหวทำให้ฝึกการตีปิงปองได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ True 5G และสมาคมกีฬาเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทยได้นำมาช่วยพัฒนาทักษะของนักกีฬาไทย นอกจากนี้ยังมี ‘Loomo’ หุ่นยนต์พาหนะ ที่มาในรูปแบบของรถยืนไฟฟ้า (Segway) มีระบบบันทึกและประมวลผล พร้อมกล้องที่สามารถเดินตามผู้ใช้งานได้เมื่อเข้าสู่พื้นที่ที่ไม่สามารถใช้งานได้
‘True Robotics Platform’ บริหารจัดการหุ่นยนต์ทั่วโลกได้ในแพลตฟอร์มเดียว
ปัญหาใหญ่ที่ผู้ใช้หุ่นยนต์มักจะต้องเผชิญ คือการที่หุ่นยนต์แต่ละตัวมาจากผู้ผลิตต่างค่ายกัน จึงต้องใช้แพลตฟอร์มบริหารจัดการต่างกัน ทำให้ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้แพลตฟอร์มแยกสำหรับหุ่นยนต์แต่ละตัว เพื่อแก้ปัญหานี้ ทีม True Robotics จึงได้ทุ่มเทพัฒนา ‘True Robotics Platform’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้หุ่นยนต์บริหารจัดการหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ จากผู้ผลิตทั่วโลกได้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อผู้ใช้หุ่นยนต์สะดวกสบายและประหยัดเวลาได้มากขึ้น
True Robotics Platform ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแอปพลิเคชันของหุ่นยนต์ (App Store) ที่ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดและติดตั้ง เพื่อเพิ่มฟังก์ชันให้กับหุ่นยนต์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น
- ฟังก์ชันการถ่ายรูป เปลี่ยนให้หุ่นยนต์เป็นเหมือนมีตู้ถ่ายรูปเคลื่อนที่ได้
- ฟังก์ชันที่ให้หุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่เป็นไกด์นำทางตามสถานที่ต่าง ๆ
- ฟังก์ชันช่วยลงทะเบียนผ่านการ Scan ใบหน้า
- ฟังก์ชันในการจัดการคิวของผู้เข้าร่วมงาน เป็นต้น
ในอนาคต แพลตฟอร์มนี้ยังมีแผนพัฒนาที่จะเพิ่มเติมฟังก์ชันอื่น ๆ ต่อไปอีก เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ให้สามารถอำนวยความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของเราได้มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในไทยจะก้าวไปได้ไกลแค่ไหน?
ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก และมีแนวโน้มจะไต่อันดับสูงขึ้นอีกในอนาคต โชว์ให้เห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ซึ่งก็สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ประกาศแผนพัฒนาระยะยาวในปี 2569 ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิต การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียน โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้หุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา True Robotics ได้นำความเชี่ยวชาญของทีมงานและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ล้ำสมัย ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยี Face Recognition และ Thermo Scan ช่วยในการระบุตัวตนและตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่ต่างๆ รวมถึง การใช้หุ่นยนต์เพื่อส่งน้ำ อาหาร ยา ให้แก่ผู้ป่วย และสื่อสารวิดีโอคอลระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรการแพทย์ ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และช่วยลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรการแพทย์ เพื่อให้คนไทยก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
วันนี้ ทรู ได้ก้าวสู่การเป็น Tech Company ที่พร้อมจะสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย กลุ่มทรูจึงได้มุ่งมั่นทุ่มเทในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไทยมาโดยตลอด ไม่ใช่เพียงเพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ทั้งภาคธุรกิจไทยก้าวทันเทคโนโลยีล้ำสมัย และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขันในเวทีโลกด้วย
ภัยไซเบอร์ยังคงเป็นปัญหาใกล้ตัวเราทุกคน เนื่องจากมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมที่เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกให้โอนเงิน ก็เปลี่ยนมาเป็นการส่งต่อลิงค์หรือ QR Code ทางออนไลน์ หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม ที่เรียกกันว่า แอปฯ ดูดเงิน ที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินในโทรศัพท์มือถือ และสวมรอยเข้าไปทำธุรกรรมทางการเงินแทนเจ้าของเครื่อง จนเกิดความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล
รู้ทันกลลวงของแอปพลิเคชันดูดเงิน
แอปพลิเคชันดูดเงิน คือแอปพลิเคชันปลอมที่จำลองรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนกับแอปพลิเคชันจริง แต่มีการฝังมัลแวร์หรือชุดคำสั่ง เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินในโทรศัพท์มือที่ติดตั้งโดยเฉพาะ
ก่อนหน้านี้แอปพลิเคชันดูดเงินจะมาในรูปแบบการจำลองแอปพลิเคชันของหน่วยงานราชการหรือเอกชน แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นแอปพลิเคชันทั่วไปที่คนนิยม เช่น แอปพลิเคชันถ่ายภาพ แต่งภาพ เป็นต้น แต่เมื่อผู้ใช้กดดาวน์โหลดมาใช้ แอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้จะเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้ามาขโมยข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้
กลลวงที่ทำให้เราติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินคือ มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมมาในรูปแบบของข้อความ SMS, LINE หรือมาในรูปแบบของ QR Code เพื่อหลอกให้คลิกลิงก์หรือสแกนเข้าไปที่หน้าเว็บปลอม และดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหลอกลวงเหล่านี้มาติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ
เมื่อแอปฯ ดูดเงินถูกติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะฝังตัวในเครื่อง ทำให้มิจฉาชีพรู้ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน พร้อมทั้งดักจับรหัสผ่านหรือ OTP ที่ส่งมา เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำธุรกรรมต่าง ๆ และโอนเงินออกจากบัญชี
ยิ่งไปกว่านั้น แอปพลิเคชันดูดเงินเหล่านี้ ยังอาจมีการขอสิทธิ์ถ่ายทอดหน้าจอ หรือ Screen Casting ทำให้มิจฉาชีพสามารถมองเห็นหน้าจอและควบคุมสมาร์ทโฟนได้ ดังนั้นในขณะที่เราไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ เช่น เวลาที่ชาร์จแบตเตอรี่ หรือเวลานอน มิจฉาชีพจะเข้าถึงแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินออกไปจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ตัว
วิธีตรวจสอบแอปพลิเคชันดูดเงินในโทรศัพท์มือถือ พร้อมวิธีการแก้ไข
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจอยากรู้ว่า แอปพลิเคชันมากมายในโทรศัพท์มือถือของตัวเอง มีแอปพลิเคชันดูดเงินแฝงอยู่หรือไม่ เราขอแนะนำวิธีการตรวจสอบ พร้อมวิธีการแก้ไข สำหรับทั้งโทรศัพท์มือถือระบบ iOS และ Android ดังต่อไปนี้
วิธีตรวจสอบสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบ Android
1. เข้าไปที่ เมนูการตั้งค่า (รูปฟันเฟือง) และเลือกไปที่เมนูแอปฯ (Apps)
2. กดปุ่มตัวเลือก เพื่อเลือกเมนูย่อย (มือถือ Android บางรุ่นต้องเข้าไปที่เมนูแอปฯ อีกครั้งก่อน หรือถ้ามีอยู่ในเมนู ไม่ต้องกดจุด 3 จุด มุมบนด้านขวา)
3. เลือก การเข้าถึงพิเศษ (Special Access) ถ้าหากว่าเข้าเมนูดังกล่าวได้ แสดงว่าโทรศัพท์มือถือปกติ หากหน้าจอเด้งออกไปที่หน้าหลัก แสดงว่าโทรศัพท์มือถือถูกฝังแอปพลิเคชันปลอมแล้ว
วิธีแก้ไขสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบ Android
1. ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
2. สำรองข้อมูลที่สำคัญ
3. ล้างเครื่องโดยการรีเซตเครื่องกลับสู่ค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงาน (Factory Reset)
วิธีตรวจสอบ สำหรับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS
1. เข้าเมนูการตั้งค่า > แบตเตอรี่ เพื่อตรวจสอบว่ามีแอปพลิเคชันที่ใช้งานแบตเตอรี่หนักเกินจริงบ้างหรือไม่
2. ตรวจสอบแอปพลิเคชันทั้งหมดบน iPhone ว่ามีแอปพลิเคชันแปลกปลอมติดมาในเครื่องหรือไม่
วิธีแก้ไข สำหรับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS
1. ถ้าพบว่ามีแอปพลิเคชันแปลกปลอม เช่น ชื่อของแอปพลิเคชันสะกดผิด ให้กดลบทันที
2. เปิดการแจ้งเตือนเว็บหลอกลวงบน Safari โดยเข้าไปที่ การตั้งค่า > Safari > กดเปิดสวิตช์ “คำเตือนเว็บไซต์หลอกลวง”
3. ลบอีเวนต์แปลกปลอมในแอปพลิเคชันปฏิทิน
หากพบว่ามีการติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน ให้รีบ “เปิด” โหมดเครื่องบิน (Airplane Mode) หรือปิดเครื่องเพื่อตัดสัญญาณไม่ให้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ หรือถอดซิมออก จากนั้นเข้าไปติดต่อกับศูนย์บริการโทรศัพท์มือถือ
วิธีป้องกันให้ปลอดภัยจากแอปพลิเคชันปลอม
ปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ เสนอแนวทางการป้องกันภัยจากแอปพลิเคชันดูดเงิน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ อาทิ
1. ไม่กดลิงก์ที่ส่งต่อกันผ่านข้อความ SMS, LINE และอีเมล รวมทั้ง การสแกน QR Code จากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ
2. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากเจ้าของระบบปฏิบัติการเท่านั้น เช่น App Store และ Google Play Store
3. อัปเดตแอปพลิเคชันและระบบปฎิบัติการเป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ โดยเฉพาะแอปพลิเคชันธนาคารและแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะมีมาตรการป้องกันและปรับปรุงพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
4. ไม่ตั้งรหัสผ่านสำหรับการทำธุรกรรมการเงิน หรือรหัส PIN 6 หลักเหมือนกันทุกธนาคาร
ทรูมูฟ เอช ห่วงใย ให้คุณปลอดภัยและรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ
ทรูมูฟ เอช ห่วงใยลูกค้าทุกคนเสมอ เราตระหนักถึงภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ที่มาพร้อมกับกลโกงหลากหลายรูปแบบ จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานหลายภาคส่วน เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยไซเบอร์ รวมถึงสนับสนุนการเสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ผ่านเว็บไซต์ True Cyber Care เพื่อให้ลูกค้าทรู และผู้บริโภครู้ทันก่อนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
คลิกดูข้อมูลได้ที่นี่
อ้างอิง
https://moneyandbanking.co.th/2023/20883/
https://money.kapook.com/view264412.html
https://www.springnews.co.th/spring-life/820679
https://www.posttoday.com/politics/domestic/689817
https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/553560
https://money.kapook.com/view264412.html
หนึ่งในกลุ่มมิจฉาชีพที่ยังคงคุกคามและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ ก็คือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นขบวนการหลอกลวงเหยื่อทางโทรศัพท์ โดยมักจะสร้างสถานการณ์ปลอมขึ้นมาหลอกลวงให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก เข้าใจผิดว่าได้รับผลกระทบ หรือหลอกล่อด้วยผลประโยชน์บางอย่าง โดยอาศัยความตกใจ ความกลัว และความรู้ไม่เท่าทันของเหยื่อ และยังมีกลอุบายแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลาย มาล่อลวง ทำให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ และเกิดความสูญเสียทั้งเวลาและทรัพย์สิน
ที่ผ่านมา ภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สร้างความเสียหายมหาศาล ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดสถิติ Financial Fraud หรือการหลอกลวงทางการเงินในปี 2564 เผยแพร่ในรายงาน Bi-monthly PAYMENT INSIGHT ฉบับที่ 14/2565 เรื่อง Financial Fraud : กลโกงทางการเงินใกล้ตัวกว่าที่คิด โดยได้ระบุว่า พบการโทรศัพท์เพื่อหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทั้งสิ้น 6.4 ล้านครั้ง โดยในปี 2564 มีมูลค่าความเสียหายที่พิสูจน์แล้วว่าเสียหายจริงกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นการหลอกลวงผ่านโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตมากที่สุด
ปัจจุบัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์กลายเป็นภัยใกล้ตัวของทุกคน ซึ่งแม้ว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมมือกันในการสืบค้น ปราบปราม และจับกุมกวาดล้างเหล่ามิจฉาชีพแล้ว การเตือนภัยและให้ความรู้ในการรับมือกับกลุ่มมิจฉาชีพก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเสริมเกราะป้องกัน เพื่อให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง และเอาตัวรอดให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพกลุ่มนี้ได้
เจาะลึกกลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังกลโกงและรู้ทันวิธีการหลอกลวงของแก็งคอลเซ็นเตอร์ สรุปได้ 8 กลโกง ดังนี้
1. อ้างว่ามีพัสดุจากบริษัทขนส่งข้ามประเทศถูกอายัด แก๊งคอลเซ็นเตอร์อาจโทรหรือใช้ระบบอัตโนมัติแจ้งว่ามีพัสดุจากต่างประเทศที่ส่งผ่าน DHL หรือ FedEx ถูกด่านกรมศุลกากรอายัดไว้เนื่องจากมีสิ่งของผิดกฎหมาย จากนั้นให้ติดต่อกลุ่มมิจฉาชีพที่สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบบัญชี หรือโอนเงินในบัญชีทั้งหมดมาตรวจสอบ
2. อ้างว่าเป็นข้าราชการ เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือกรมสรรพากร และแจ้งว่าเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง โดยให้โอนเงินในบัญธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
3. อ้างว่าค้างค่าปรับจราจร โดยหลอกให้โอนเงินค่าปรับจราจรมาให้
4. อ้างว่าค้างชำระบัตรเครดิตเป็นเงินจำนวนมาก หากไม่รีบชำระจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อหลอกให้โอนเงินชำระค่าบัตรเครดิตให้มิจฉาชีพทันที
5. อ้างว่าทำความผิดโดยการเปิดบัญชีม้า โดยแจ้งว่าเหยื่อได้เปิดบัญชีธนาคารให้คนร้ายทำความผิด โดยต้องโอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
6. อ้างว่าการเคลมประกันโควิด-19 เป็นเท็จ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง จากนั้นก็แจ้งให้เหยื่อโอนเงินบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
7. อ้างเป็น กสทช. หลอกว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อค้างชำระค่าบริการ หรือมีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก จะถูกปิดหมายเลขภายใน 2 ชั่วโมง ให้ติดต่อกลุ่มมิจฉาชีพที่สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และโอนเงินในบัญชีทั้งหมดมาตรวจสอบ
8. อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหน่วยงานทางการแพทย์ เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นก็หลอกให้โอนเงินค่ารักษาพยาบาล
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบอร์ต้องสงสัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สิ่งแรกที่ทุกคนสังเกตได้คือ เบอร์โทรศัพท์หลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะเป็นหมายเลขแปลกๆ ซึ่งปกติแล้วเวลามีคนโทรเข้ามาเบอร์จะปรากฏเป็นเลข 10 หลัก แต่ถ้าหากเห็นเบอร์ยาวๆ แล้วยังมีเครื่องหมายบวก (+) อยู่ข้างหน้าอีก ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า อาจจะเป็นเบอร์โทรหลอกลวงจากมิจฉาชีพได้
ส่วนใหญ่แล้วเป็นเบอร์ที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้โทรเข้ามาจะเป็นเบอร์ที่เราไม่เคยติดต่อ หรือเป็นเบอร์โทรที่เราไม่ได้บันทึกไว้ในเครื่องโทรศัพท์ โดยมักจะเป็นเบอร์จากต่างจังหวัดที่ไม่คุ้นเคย หรือโทรมาจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วย +830 หรือ +870
นอกจากนี้ ยังมีเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย +697 และ +698 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกสทช.และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใส่เครื่องหมายนำหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นการโทรจากต่างประเทศ หากไม่มีคนรู้จักที่จะติดต่อจากต่างประเทศ ควรระมัดระวัง อาจเป็นการโทรจากมิจฉาชีพ
วิธีรับมือกับแก็งคอลเซ็นเตอร์
สำหรับใครที่เผลอรับสายเบอร์แปลก ๆ และคิดว่าอาจเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพื่อความปลอดภัย สามารถทำตามวิธีการดังต่อไปนี้
- ไม่เชื่อ : ไม่เชื่อว่าภาครัฐหรือเอกชนมีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์ ตั้งสติเมื่อรับสายทุกครั้ง
- ไม่บอก : ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินใดๆ รีบตัดสายและวางสายโดยเร็วที่สุด
- ไม่ทำตาม : ไม่ทำตามที่แก็งคอลเซ็นเตอร์แนะนำ ไม่ว่าจะขั้นตอนใดๆ เด็ดขาด หลังจากวางสาย ให้ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานหรือสถาบันที่ถูกแอบอ้างทันที
ทรูมูฟ เอช ห่วงใย ให้คุณปลอดภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพทุกรูปแบบ
ทรูมูฟ เอช ตระหนักถึงภัยจากคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพที่มาพร้อมกับกลโกงหลากหลายรูปแบบ ด้วยความห่วงใยลูกค้าทุกคน ทรูมูฟ เอช จึงมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนและครบวงจร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ลูกค้าเป็นสำคัญ
โดยทรูมูฟ เอช เพิ่มช่องทางพิเศษดูแลลูกค้าที่พบปัญหาโดยเฉพาะ หากลูกค้าได้รับเบอร์โทรต้องสงสัย สามารถติดต่อ Hotline 9777 (โทรฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรต้องสงสัย และ SMS มิจฉาชีพ เพื่อดำเนินการบล็อกเบอร์โทร หรือ SMS ทันทีที่ตรวจพบว่าเป็นของมิจฉาชีพจริง พร้อมประสานหน่วยงานภาครัฐเพื่อสืบค้นและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ ทรูยังสนับสนุนการเสริมเกาะป้องกันภัยไซเบอร์ต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และอัปเดตภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ ผ่านเว็บไซต์ True Cyber Care ให้ลูกค้าทรูและผู้บริโภครู้ทันก่อนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ คลิกดูข้อมูลได้ที่นี่
อ้างอิง
ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับมัลแวร์ (Malware) มาบ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าคำที่คุ้นหูนี้ อาจเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด!
ในยุคที่ทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีสุดทันสมัย และใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ภัยจากมัลแวร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา มัลแวร์ที่ว่านี้คือ ซอฟต์แวร์หรือโค้ดที่มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์ร้ายและเป็นอันตรายในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของทุกคน
รู้ทันมัลแวร์ ภัยที่แฝงมากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่
แม้ว่ากลไกของมัลแวร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการหลอกลวงในลักษณะนี้มานานแล้ว แต่ในปัจจุบันมิจฉาชีพปรับเปลี่ยนกลโกงให้แนบเนียนมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างของภัยมัลแวร์ที่เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ในเวลานี้คือ มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์จะส่ง SMS มาหลอกลวงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ด้วยข้อความดูน่าเชื่อถือ เช่น ข้อความแจ้งเตือนจากธนาคาร เพื่อชักจูงให้กดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม
หากผู้ใช้เผลอกดลิงค์ที่ได้มาก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมไว้กับเครื่องโทรศัพท์ จากนั้นก็มีข้อความหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ข้อมูลเหล่านี้มิจฉาชีพจะใช้แฮ็กเข้าระบบเพื่อขอสิทธิ์ในการเข้าถึงอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มัลแวร์เข้ามาแฝงในอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
จากนั้นแฮ็กเกอร์ก็เข้าจัดการการสมัครบริการต่างๆ ที่คิดค่าบริการเหมือนกับเจ้าของเครื่องทำรายการเอง โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัวเลย เช่น การสมัครรับ SMS เป็นต้น ส่วนข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของอุปกรณ์จะถูกส่งกลับไปหาแฮ็กเกอร์เช่นกัน โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ข้อมูลหรือโค้ดที่ได้มาล้วงข้อมูล ควบคุม และติดตามการใช้งาน รวมไปถึงสามารถทำลายข้อมูล พร้อมนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในทางไม่ดีโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว ทั้งยังส่งข้อความกลับไปหลอกลวงต่อเรื่อยๆ อีกด้วย
เคล็ดลับจัดการภัยมัลแวร์ด้วยตัวเอง
• ควรอัปเกรดระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
แต่ละวิธีสามารถช่วยปกป้องอุปกรณ์ของเราจากภัยมัลแวร์ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการติดตามอัปเดตข่าวสาร และระวังตัวก่อนทำกิจกรรมหรือธุรกรรมทางออนไลน์ให้มากขึ้น
ทรูใส่ใจทุกปัญหา มุ่งมั่นดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยจากทุกภัยไซเบอร์
- กด *137 แล้วกดโทรออก กด 1 ตรวจสอบ SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ กด 2 ยกเลิก SMS ข้อความประชาสัมพันธ์ หรือ กด 3 ยกเลิก SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ โดยลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
- จัดการผ่านแอปพลิเคชัน True iService ได้ทันที