รับรองมาตรฐานระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อม
ISO14001:2015
จำนวน 12 แห่งดังนี้
- อาคารทรู ทาวเวอร์
- อาคารทรู ทาวเวอร์ 2
- อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค
- สำนักงานข่อนแก่น
- สำนักงานเชียงใหม่
- สำนักงานนครราชสีมา
- สำนักงานอยุธยา
- สำนักงานพิษณุโลก
- สำนักงานสงขลา
- สำนักงานนครปฐม
- สำนักงานอุบลราชธานี
- สำนักงานสุราษฎร์ธานี
ลดการใช้กระดาษ
247
ล้านแผ่น
ในปี 2565
ในปี 2565
รีไซเคิลของเสีย
อิเล็กทรอนิกส์
14.50
ตัน
ในปี 2565
ในปี 2565
การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
การจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ท้าทายซึ่งทั่วโลกให้ความสําคัญ
เพราะมีความเสี่ยงและโอกาสที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
กลุ่มทรูจึงมีการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบความเสี่ยงและโอกาส
ตามกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on
Climate-related Financial Disclosures: TCFD) และร่วมเป็น TCFD Supporter
รวมถึงการปรับตัวประเด็นที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
Carbon Disclosure Project (CDP)
บริษัทฯ เข้าร่วมการประเมินความยั่งยืน CDP (Carbon Disclosure Project)
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประจำทุกปี เพื่อบริหารความเสี่ยงและโอกาส
ติดตามเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ
ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
กลุ่มทรูดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อาจขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน
พร้อมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และไม่สนับสนุนการตัดไม้ทำลายป่า
ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู
และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
การใช้น้ำ
เราคำนึงถึงความสำคัญของการอนุรักษ์น้ำ
โดยตั้งเป้าหมายการลดสัดส่วนการใช้น้ำต่อรายได้ลง 20% ภายในปี 2573 (เทียบกับปี 2563)
การจัดการขยะ
กลุ่มทรู มุ่งมั่นลดปริมาณของเสีย และจัดการการเกิดของเสียอย่างรับผิดชอบ
โดยตั้งเป้าหมาย e-waste จากการดำเนินงานที่นำไปฝังกลบเป็นศูนย์
และใช้บรรจุภัณฑ์ที่แปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่หรือย่อยสลายได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2573
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (EMF)
แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณมือถือ มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพมนุษย์ ทรู
ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว
โดยปฏิบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกาศข้อบังคับ ของ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)
อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังมีการควบคุมมาตรฐานการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งต้องอยู่ในอัตราน้อยกว่าร้อยละ 0.1
ซึ่งเป็นปริมาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในระดับความปลอดภัย ตามที่ กสทช.
และองค์กรระดับชาติกำหนด
ทรู e-Bill
การลดการใช้กระดาษภายในและภายนอกองค์กร
ผ่านการขยายขอบเขตระบบใบแจ้งค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ (True e-Billing)
ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (True e-Tax Invoice) จัดตั้งตู้ทรูมันนี่ (Kiosk) และ
จัดทำ e-Register Form เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า
สามารถสมัครบริการได้ง่ายขึ้น และลดการใช้กระดาษได้มากกว่า 247 ล้านแผ่น
หรือสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Avoided Emissions Products) ได้มากกว่า 2,592
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
การใช้พลังงานหมุนเวียน
(ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์)
ทรู ได้เริ่มศึกษาและทดลองติดตั้ง Solar Cells ตามสถานีฐานที่เกาะต่างๆ
และที่พื้นที่ห่างไกลและระบบส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึงตั้งแต่ปี 2553 ในปี 2565
ขยายผลการติดตั้งแผง
Solar Cell เพิ่มเติม 1,971 MWh ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 877 tonCO2e.
นอกจากนี้ ทรูได้ร่วมกับพันธมิตรในลักษณะ (Power Purchase Agreement : PPA) ใช้ไฟฟ้าจาก Solar Cells 1,191 แห่ง ผลิตไฟฟ้าได้ 2,057 MWh เทียบเท่าลดก๊าซเรือนกระจกได้ 915 tonCO2e. โดยตั้งแต่เริ่มดำาเนินโครงการมีการติดตั้งสะสมรวมทั้งสิ้น 4,712 แห่ง ผลิตไฟฟ้า 31,176 MWh ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13,905 tonCO2e.
นอกจากนี้ ทรูได้ร่วมกับพันธมิตรในลักษณะ (Power Purchase Agreement : PPA) ใช้ไฟฟ้าจาก Solar Cells 1,191 แห่ง ผลิตไฟฟ้าได้ 2,057 MWh เทียบเท่าลดก๊าซเรือนกระจกได้ 915 tonCO2e. โดยตั้งแต่เริ่มดำาเนินโครงการมีการติดตั้งสะสมรวมทั้งสิ้น 4,712 แห่ง ผลิตไฟฟ้า 31,176 MWh ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13,905 tonCO2e.
โครงการ e-Waste
ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ
ทรูตั้งเป้าหมายจัดการขยะ e-waste จากการดำเนินงานที่นำไปฝังกลบเป็นศูนย์
และขยายความรับผิดชอบไปสู่กลุ่มลูกค้า ด้วยการตั้งกล่องรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ทรูช็อป
เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้ลูกค้าผ่านกิจกรรมโครงการ e-Waste
ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ
ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ
เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาความยั่งยืนในอนาคตของกลุ่มทรู
ส่งความคิดเห็น